Case Thailand S Computer Crime Act

พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย : ความปลอดภัยกับเสรีภาพในการแสดงออก

ในฤดูร้อนของปี 2012 สองผู้มีอำนาจตัดสินใจที่เป็นอิสระในคนละซีกโลก พยายามที่จะกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของการดำเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ต่อไปนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ”) ที่รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้ในปี 2007 พระราชบัญญัติได้รับแรงผลักดันจากความกังวลในช่วงที่มีการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น แต่ได้พบกับหลากหลายปฏิกิริยาจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงธุรกิจอินเทอร์เน็ตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศและการอ้างสิทธิทางการเมือง

ในด้านของการตัดสินใจของนาย Thomas Dungen ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Fatbook.com ผู้ที่กำลังจะตัดสินใจว่าจะเปิดตัวเวอร์ชั่นภาษาไทยของเขาซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เขาไม่มีความลังเลเลย แต่ว่าความต้องการและศักยภาพของตลาดที่มีอยู่ คิดว่าอาจมีจุดคุ้มทุนต่ำและมีผลตอบแทนสูงทางการเงินในการลงทุนที่จะได้ประโยชน์อย่างมากต่อบริษัท ซึ่งเมื่อวันใกล้มาถึงเมื่อเขาและผู้ร่วมงานของเขาเลือกที่จะใช้บริษัทที่ผ่านการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ความไม่แน่นอนและความลังเลของเขา ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลของเขาว่าความรับผิดชอบจากพระราชบัญญัติที่แพร่หลายสำหรับการละเมิดที่ค่อนข้างกว้าง กล่าวคือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็น และในกรณีล่าสุด ที่เคยเกิดขึ้นคือ การรับผิดร่วมกันกับบรรดาผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงสำหรับการกระทำความผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้พระราชบัญญัติ ข้อกำหนดนี้ Dungen รู้สึกว่ามันมีความสำคัญมากที่จะทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากนานัปการกับบริษัทได้ ซึ่งบริษัทของเขาจะเปิดตัว Fatbook เวอร์ชั่นไทย และได้เรียนรู้ว่าการทำงานของพนักงานหรือผู้ใช้งานอาจถูกกล่าวหาว่าละเมิดพระราชบัญญัติได้

Dungen พบว่าการตัดสินโดยเฉพาะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งยากที่จะทำ การเปิดตัวของ Fatbook เวอร์ชั่นไทย มีการคาดหวังว่าจะมีกำไรทางการเงินที่ดีจากรายได้โฆษณาที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความนิยมที่เพิ่มขึ้นและชื่อเสียงที่จะดึงดูดผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนั้นจึงยอมให้ความสำคัญสำหรับปัจจัยที่เป็นค่าใช้จ่ายการโฆษณาและให้ความสำคัญแบบ “ครบวงจร” ในอีกทางหนึ่ง ความคาดหวังของการค้นพบของตัวเขาเองในเวลาต่อมาว่าบริษัทของเขาอาจถูกกล่าวหาว่าปะทะกับบทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัติ เนื่องมาจากการกระทำของผู้ใช้งานบางคนในเว็บไซต์หรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันทั้งตัวเองและบริษัทของเขาจากการถูกดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งมีโอกาสที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งนั่นเป็นการดีที่ทำให้ Dungen หยุดไปชั่วขณะ สำหรับการเป็นผู้ประกอบการครั้งแรก เขายินดีกับผลกำไรทางธุรกิจที่ได้รับ โดยยืนยันว่าต้องคำนวณความเสี่ยง แต่เขาสงสัยว่าความเสี่ยงในกรณีนี้จะคุ้มค่าจริงๆ กับผลกำไรที่จะได้รับหรือไม่

ในขณะเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาลของรัฐบาลไทยในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ต่อสู้กับการตัดสินใจที่ยากลำบากไม่แพ้กันคือ การสนับสนุนการยกเลิกพระราชบัญญัติในรัฐบาลของเธออย่างยุติธรรม (มีการเรียกร้องโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางคน) หรือในการสนับสนุนของการออกพระราชบัญญัติอย่างที่ควรจะเป็น (ที่ถูกเรียกร้องโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ) เหมือนกันกับ Dungen ที่ถูกผลักดันด้วยแง่มุมที่แตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์ของปัญหาในสำนักงานทั่วโลกของเขา นายกรัฐมนตรีพบว่าเป็นเรื่องยากในการตัดสินใจ เพราะมีแรงขับที่มีประสิทธิภาพและมีอิทธิพลอยู่บนทั้งสองด้านของปัญหา การเผชิญหน้ากับกฎหมาย เป็นการรวมกันของผลประโยชน์ที่เชื่อว่าพระราชบัญญัติเป็นการเผชิญหน้าที่ร้ายแรงและเป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออกและสิ่งที่มีค่าอื่นๆ อีก ซึ่งนั่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเก็บรักษาให้มีอยู่สังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีความเห็นทางการเมืองบางอย่างภายในกลุ่มต่อต้านพระราชบัญญัติ ได้เชื่อว่าบทบัญญัติบางประการของตัวพระราชบัญญัติเอง มีการนำมาใช้เพื่อละเมิด ในแง่ที่พวกเขาถูกมองว่าอาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับกองกำลังทางการเมือง กลุ่มอำนาจทางการเมืองดั้งเดิมมองว่าเป็นภัยคุกคาม กลุ่มเหล่านี้มีความเชื่ออย่างมั่นคงในประชาธิปไตยไทยว่ามีรากฐานและมีความเจริญรุ่งเรือง มันเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่สิทธิของประชาชนที่จะแสดงความคิดเห็นของพวกเขา โดยลักษณะของประเด็นทั้งหมดไม่ต้องโดนบีบบังคับผ่านกฎหมายที่ขู่ว่าจะมีการลงโทษที่รุนแรง

นอกจากนี้ ในกลุ่มย่อยอื่นๆ ทั้ง กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างประเทศ เช่น Fatbook ที่แม้ว่าจะไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีความคุ้นเคยที่จะทำธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่มีกฎหมายที่มีความเข้มงวดน้อย มาควบคุมผู้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น Internet กลุ่มเหล่านี้ไม่เพียง แต่เป็นตัวแทนการลงทุนจากต่างประเทศหน้าใหม่ที่มีศักยภาพ แต่ยังเป็นลู่ทางที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นสังคมที่ “มีความพร้อมทางเทคโนโลยี” สูง ซึ่งอาจจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูงขึ้นไปอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีพระราชบัญญัติ กลุ่มผู้มีอิทธิพลและอำนาจผลประโยชน์อื่นๆ จะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น ที่ตั้งทางทหารที่สำคัญทั้งหมดและกองกำลังของพวกเขาจำเป็นต้องอารักขาอยู่ในค่ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพวกเขาอยู่ในที่ที่พระราชบัญญัติไม่มีผลอยู่แล้ว ซึ่งต่างก็มีเหตุผลที่หลากหลายแตกต่างกันไป พวกเขาถือว่ากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งหมายถึงความสำคัญที่จำเป็นที่จะรักษาและสนับสนุนสิ่งที่ดีที่สุดของรัฐและสังคมไทย เนื่องจากแนวโน้มอดีตทหารมีชื่อเสียงมีวิธีที่สามารถจ่ายค่าจ้างให้พิเศษเพื่อจำกัดมุมมองทางการเมืองได้ นายกรัฐมนตรีชินวัตรรู้ดีว่า มีแนวโน้มว่าบุคคลที่เข้าเป็นทหารจะได้รับการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง การกระทำใด ๆ ที่เธออาจจะเกี่ยวกับการการจัดการซึ่งพระราชบัญญัติ อันที่จริง ถ้าเธอต้องการสิ่งเตือนใจว่าวิธีการเด็ดขาดที่ทหารสามารถทำหน้าที่เมื่อรู้สึกว่ารัฐบาลได้ดำเนินการไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง การรัฐประหารรัฐบาลของพี่ชายของเธอ (ทักษิณ ชินวัตร) ในเดือนกันยายน 2006 เป็นสิ่งช่วยเตือนความจำที่เจ็บปวดมาตลอดถึงปัจจุบัน

ภาพรวมของประเทศไทย
ตั้งอยู่ในใจกลางของคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีขอบเขตติดกับอ่าวไทย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และมาเลเซีย ราชอาณาจักรไทยยังอยู่ใน 50 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดของโลกในผืนดินทั้งหมด (513,115 ตารางกิโลเมตรหรือ 198,120 ตารางไมล์) และติดอันดับ 20 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด (คาดว่าในปี 2010 จะมากกว่า 67 ล้านคน) ประเทศมีแบ่งออกเป็นหกภูมิภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคใต้, ภาคตะวันตก และภาคกลาง) บวกกับเมืองหลวงคือ “กรุงเทพ” ซึ่งเท่าที่ผ่านมาเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากที่สุดในประเทศ
ในด้านประชากร ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคนเชื้อชาติไทย แต่ยังมีประชากรที่สำคัญคือคนเชื้อสายจีน (14%) เช่นเดียวกับการกระจายของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่แตกต่างกัน (เช่นชนชาติที่หลายๆ คนเรียกว่า “ชาวเขา”) ประมาณ 71% ของประชากรอยู่ในกลุ่มอายุ 15-64 ปี แม้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญ (เกือบ 20%) อยู่ในกลุ่มอายุ 0-14 และน้อยกว่า 9% อยู่ใน 65 ปีและกลุ่มที่มีอายุมากกว่า อัตราส่วนเพศชายและเพศหญิงเป็น 50:50 ในแต่ละกลุ่มอายุ ในปี 2011 การเติบโตของประชากรเป็น 0.566% ซึ่งลดลงจากปีก่อน ด้านวัฒนธรรม ได้ถูกหล่อหลอมมาจากหลายอิทธิพล ซึ่ง ได้แก่อารยธรรมโบราณของอินเดีย จีน และกัมพูชา และมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีผู้นับถือศาสนากว่า 95% ของจำนวนประชากร ซึ่งนี่มีอิทธิพลอย่างมากต่อลักษณะพื้นฐานทางด้านสังคมและประเพณีของสังคมไทย ประเทศไทยยังเป็นประเทศเดียวที่มีความแตกต่างจากหมู่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรงที่ไม่เคยเป็นเมืองอาณานิคมในประวัติศาสตร์กว่า 1,000 ปี
ประเทศมีความพอใจในระดับสูงจากผู้ที่ได้รับการศึกษา มีกว่า 93% ของประชากรที่อายุ 15 ปีที่มีความสามารถในการอ่านออกและเขียนได้ การศึกษาส่วนใหญ่ถูกจัดการโดยรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงศึกษาธิการและเป็นการเรียนฟรีสิบสองปีในโรงเรียน แต่การศึกษาภาคบังคับยังเป็นเพียงเก้าปีแรกเท่านั้น
ในปี 1932 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีอำนาจมากว่าเจ็ดศตวรรษถูกแทนที่ด้วยระบอบรัฐธรรมนูญ กับนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แม้จะเป็นการเริ่มระบบสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาล คนไทยยังคงให้ความเคารพและบูชาพระมหากษัตริย์มากที่สุดเท่าที่พวกเขาได้ทำในช่วงระยะเวลาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สะท้อนให้เห็นในธงประจำชาติไตรรงค์สามสี พระมหากษัตริย์ (แสดงให้เห็นในแถบสีน้ำเงินตรงกลาง) เป็นหนึ่งในสามสัญลักษณ์แห่งประเทศไทยร่วมกับประเทศชาติ (แสดงให้เห็นในสองแถบสีแดงด้านนอก) และศาสนา (แสดงให้เห็นในสองแถบสีขาวที่ติดกับแถบสีน้ำเงิน)
ในการเห็นพ้องร่วมกันกับโครงสร้างแบบดั้งเดิมของระบบรัฐสภาของวิธีการปกครอง ฝ่ายบริหารของไทยยังเป็นส่วนร่วมในงานในฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาล ระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ศาลฎีกามีอำนาจสูงสุดประกอบด้วยสามฝ่าย ตั้งแต่การปฏิรูป ประเทศไทยได้ผ่านการรัฐประหารโดยทหารถึง 18 ครั้ง และกฎบัตร รัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ สะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างมาก นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาการปฏิรูปประเทศไทยเคยประสบวิกฤตการณ์ทางการเมืองเป็นจำนวนมากเช่น พฤษภาทมิฬ ในปี 1992 และการประท้วงเสื้อเหลือง เสื้อแดงที่ผ่านมาอีกซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางและการไม่มีเสถียรภาพของการเมืองไทยอย่างเด่นชัด
ชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี 2011 ไม่เพียง แต่นำมาสู่การมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก แต่ยังเป็นครั้งแรกที่ผู้นำรัฐบาลมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อนหน้านี้คุณยิ่งลักษณ์ได้ทำหน้าที่ในฐานะประธานของ AIS ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่ก่อตั้งโดยพี่ชายเธอ ผู้ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร พรรคของเธอได้รณรงค์ โดยสัญญาว่าจะให้มี ฟรีอินเตอร์เน็ตไร้สายในที่สาธารณะ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, และคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางและความมุ่งมั่นของเธอที่จะทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นพื้นฐานสำหรับการแข่งขันของประเทศไทยในการก้าวไปข้างหน้า เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านไอทีจาก บริษัท ระดับโลกซึ่งจะเป็นหลักของกลยุทธ์ ในการทำให้เกิดความสำเร็จของช่วงของการเติบโตใหม่ของการแข่งขัน ในการการเชื่อมโยงนี้ เธอก็ตระหนักถึงความเป็นไปได้ แต่เต็มไปด้วยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามกฎหมายบางส่วนและข้อกำหนดอาจจำเป็นทั้ง “ปรับแต่ง” หรือแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด เพื่อสร้างบริบทการลงทุนน่าดึงดูดใจนั่นเอง
จำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตและซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นช่วยผลักดันการเพิ่มขึ้นของภาพรวมมูลค่าในตลาดอุตสาหกรรม มูลค่าตลาดของ ICT เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2009 ถึง 2011 มีมูลค่าถึง 22621 ล้านดอลล่า เติบโตถึง 11.7 % จากปีที่แล้ว โดยได้แรงสนับสนุนขนาดใหญ่ในตลาดจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมคิดเป็น 61.7% (หรือ 13945 ล้านดอลลาร์) ของตลาดICTทั้งหมด ในส่วนที่เหลือ มีการลดลงตามความสำคัญจากภาพรวมตลาด เช่นฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (อยู่ที่ 14.8 % มีมูลค่าประมาณ 3350 ล้านดอลลาร์), ซอฟต์แวร์ (อยู่ที่ 12.4% เป็นมูลค่าประมาณ 2807 ล้านดอลลาร์), และการบริการ (อยู่ที่ 11.1% เป็นมูลค่าประมาณ 2519 ล้านดอลลาร์)
พื้นฐานมูลค่าตลาดที่กล่าวถึงด้านบนและอัตราการเติบโตของบางอุตสาหกรรมก็มีพฤติกรรมแตกต่างกันเกี่ยวกับการใช้ ICT เทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น ด้านสถาบัน ทุกธุรกิจการค้า และการบริการมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการลดต้นทุนการผลิต และสร้างตลาดใหม่แก่ผลิตภัณฑ์และการบริการ, ด้านธุรกิจโรงบาลในประเทศไทย มีสัดส่วนของพนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท ในการทำงานสูงที่สุด (100%และ90% ตามลำดับ) เหมือนที่โชว์ใน Appendix 1 อันดับสูงสุดถัดมาในการใช้ประโยชน์คือด้านการผลิต การท่องเที่ยว ก่อสร้าง และธุรกิจการค้าและบริการ ตามลำดับ
แต่อย่างไรก็ตามบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) มีการชะลอที่จะพัฒนา ICT ในความเป็นจริงแล้วจากการวิจัย แสดงให้เห็นถึงผลทางด้านบวกของ ICT ในการบริหารบริษัท ในส่วนของการสร้าง การผลิต การทำกำไร มูลค่าการตลาด และส่วนแบ่งทางการตลาด นอกจากนี้ขนาดของสถานประกอบการส่งผลต่อการใช้งาน ICT ดังที่แสดงใน Appendix 1 สถานประกอบการที่มีคนน้อยกว่า 16 คน ใช้ ICT อยู่ในระดับต่ำ: การใช้งานคอมพิวเตอร์ -21.9% , การใช้งานอินเตอร์เน็ต -14.2%, และเว็บไซต์ -6.2% ในทางตรงกันข้าม สถานประกอบการที่มี 16 คนหรือมากกว่า จะใช้งาน ICT ในระดับที่สูง ตามตัวอย่าง มากกว่า 81.1% ของสถานประกอบการใช้งานคอมพิวเตอร์ [3]
ในด้านสถาบันการศึกษา, 99.7% ของการศึกษาระดับประถมมีคอมพิวเตอร์, และระดับการศึกษาอื่นๆก็มีคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น นอกจากนี้ส่วนใหญ่ของสถาบันการศึกษาก็มีการใช้งานอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างสามารถดูได้จาก Appendix 1 อินเตอร์เน็ตสำหรับการศึกษาระดับประถม, สำหรับอาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และสถาบันการศึกษาระดับสูง มีเปอร์เซ็นการใช้งาน 97.2% 99% และ 100% ตามลำดับ
ขณะที่สัดส่วนของความนิยมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต (29.3% และ 20.1% ตามลำดับ ในปี 2009) มีการเพิ่มขึ้น น้อยกว่าสัดส่วนของการใช้ Mobile Phone (56.8%) แต่ประเทศไทยได้รับอันดับที่ 9 ในเอเชียในส่วนของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในปี 2011 (ดูได้จาก Appendix 2) [4] นอกจากนี้การใช้งานอินเตอร์เน็ตในครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 5.7% ในปี 2004 เป็น 9.5% ในปี 2009 และบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตเพิ่มจาก 52.8% ในปี2006 เป็น 55.1ขณะที่การใช้สายโทรศัพท์แบบ Fixed-line ลดลงจาก 23.4% ในปี 2004 เป็น 21.4% ในปี 2009 [3]
ในปี 2012 ประเทศไทยได้ตำแหน่งที่ 39 จากทั้งหมด 142 ประเทศ ในรายงานการแข่งขันระดับโลก โดย World Economic Forum มันเป็นตำแหน่งที่ดีภายใต้ค่าเฉลี่ยของโลก ปัจจัยทั้งหมดเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยี แม้ว่าความเป็นจริงแล้ว สารสนเทศ เทคโนโลยี และโทรคมนาคม จะเป็นปัยจัยหลักที่ขับเคลื่อนการแข่งขันของบางส่วนของประเทศ ข้อกำหนด, ปัญหาหลักของประเทศไทยคือเรื่องเกี่ยวกับ “เสาหลักของการเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยี” การวัดผลโดย World Economic Forum ประเมินขีดความสามารถของประเทศในการใช้ประโยชน์ของข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเทศไทยได้ลำดับที่ 93 ในจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต, ลำดับ 82 ในความพร้อมของเทคโนโลยีล่าสุด, ลำดับที่ 75 ในความมั่นคงในการดูดซึมเทคโนโลยี, อันดับที่ 77 ในเรื่องบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต และลำดับ 83 ในเรื่อง อินเตอร์เน็ตแบนวิช วิสัยทัศของการขับเคลื่อน ICT ในประเทศไทย ได้รับคำแนะนำว่าใดอุปสรรคใด ๆ และทั้งหมดไปสู่การปรับปรุงเกี่ยวกับมาตรการเหล่านี้จะสอดคล้องมุ่งเน้นที่การให้ความสนใจและการกระทำ
ไม่มีใครสามารถปฎิเสธได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาใน 20 ปีนี้ อินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนมุมมองของชีวิตที่ทันสมัยในประเทศไทย ผู้คนต่างติดต่อกันและร่วมมือกันอย่างรวดเร็วและดีขึ้นเนื่องจากอินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตเริ่มก้าวเข้ามาเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับธุรกิจและการพักผ่อนหย่อนใจ เดือนมิถุนายน 2011, มี 18 ล้านคน (คิดเป็น 27% จากประชากรทั้งหมด) มีการใช้งานอินเตอร์เน็ต [5] อย่างไรก็ตามในภาวะฉุกเฉินของอินเตอร์เน็ตไม่ได้นำผลประโยชน์มาเจือปน ค่อนข้างชอบกับหลายๆเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นและอยู่ในระยะต้น อินเตอร์เน็ตนำปัญหาใหม่ๆและการแข่งขันเข้ามา โดยเฉพาะหนี่งในอาชญากรรมที่เติบโตเร็วในไทย ในจำนวนของหลายๆประเทศทั่วโลก อาชญากรรมมีการเกี่ยวพันกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต [6] และอาชญากรรมนี้ส่งผลกระทบด้านลบทั้งแก่ธุรกิจและแต่ละบุคคล

การตอบสนองของชาติต่ออาชญากรรมไซเบอร์
เป็นชัดเจนว่าได้การกำหนดเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง อาจเป็นภัยคุกคามโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีที ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และนโยบายสาธารณะของแต่ละบุคคลมากขึ้น รัฐได้ตอบสนองด้วยการพัฒนาประมวลกฎหมายเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เพราะกระมวลกฎหมายเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นของแต่ละประเทศ แต่ละประเทศก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมที่กำหนดครอบคลุมไว้(ดูภาคผนวก 3) ประมวลกฎหมายอาญาการกระทำผิดอาชญากรรมทางด้านไซเบอร์ของประเทศหนึ่งใช้กับประเทศอื่นไม่ได้ดังแสดงในภาคผนวก 3 ในหมู่ประเทศเหล่านั้นที่มีการประกาศใช้กฎหมายต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่มากที่สุดบางส่วนหรือทั้งหมดของการละเมิดที่เฉพาะเจาะจงต่อไป
1. ไม่ได้รับอนุญาตเข้าใช้ระบบ
2. จูงใจโดยผิดกฎหมายเกี่ยวกับไฟล์หรือข้อมูล (เช่นการคัดลอกไม่ได้รับอนุญาต การดัดแปลงหรือการทำลาย)
3. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายการก่อวินาศกรรม (ผ่าน ไวรัส เวิร์ม ม้าโทรจันและการปฏิเสธการโจมตีบริการแล้ว)
4. ใช้ระบบสารสนเทศที่จะกระทำหรือสร้างความก้าวหน้าของการก่ออาชญากรรม "ดั้งเดิม" (เช่นการทุจริตปลอมแปลงเอกสารและปราบปรามการฟอกเงินและการก่อการร้าย)
5. การประนีประนอมทางด้านจารกรรมคอมพิวเตอร์
6. การละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
7. การโจรกรรมหรือสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
ที่ได้กล่าวมาแล้วในภาคผนวกที่ 4 ขั้นตอนของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด และถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรในประเทศเอเซีย ที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกันกับภูมิภาคอื่น โดยทั่วไป การละเมิดหรือการฝ่าฝืนที่ถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรสำหรับประเทศส่วนใหญ่ในเอเซีย มีดังต่อไปนี้
1.การขโมยข้อมูลทางอีเลคโทรนิค
2.เป็นภัยหรือสร้างความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์
3.การเปิดเผยความลับ
4.การฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์
5.การไม่มีอำนาจใช้ระบบหรือการปลอมแปลงเอกสารทางด้านคอมพิวเตอร์
6.การดูหมิ่นหรือการให้ร้ายทางธุรกิจ
7.การลามกอนาจาร
ทุกประเทศให้ความหมายและคำอธิบายกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน เช่นไต้หวันกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ตราขึ้นเพื่อป้องกันการฉ้อโกง โดยให้ข้อมูลเท็จหรือให้สั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องทำละเมิดโดยการเลียนแบบ หรือยึดครองตราผลิตภัณฑ์อื่นในประเทศอื่น การฉ้อโกงนี้หมายความว่า การกระทำใดที่ไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกลวงโดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ต โดยพุ่งเป้าไปที่เทคโนโลยี่ที่สนับสนุนระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศอื่น การกระทำโดยฝ่าฝืนรวมถึงการใส่ร้าย การดูหมิ่นทางธุรกิจ เรื่องลามกอนาจาร การจัดการให้มีการพนันทางอินเตอร์เน็ตและการเปิดเผยความลับ ในบางประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย การลักลอบเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดูข้อมูลที่เป็นความลับถือว่าผิดกฎหมาย ถึงแม้ระบบจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม ในสิงคโปร์ การลักลอบเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเปิดเผยความลับ การทำลายระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอีเลคโทรนิค หรือการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต ถือว่าผิดกฎหมาย ในประเทศมาเลเซีย เรื่องที่ผิดกฎหมายให้รวมถึง การทำลายชื่อเสียง การไส่ร้าย การดูหมิ่นทางธุรกิจและการป้องกันเรื่องลามกอนาจาร ในฮ่องกงการกระทำผิดกฎหมายให้รวมถึง การทำลายชื่อเสียง การไส่ร้ายทางธุรกิจ การกระทำความผิดทาง อีเมล การกระทำที่เป็นภัยหรือการทำลาย การฉ้อโกงทางอินเตอร์เน็ตและการขโมยข้อมูลทางอีเลคโทรนิค ในประเทศจีน อาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ให้รวมถึงมาตรา 285-287 ของกฎหมายอาญา และให้รวมถึงการล่วงละเมิด แทรกแซงในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์โดยผิดกฏหมายจะถูกตัดสินให้ติดคุกอย่างน้อย 5 ปี ในเวียตนาม กฎหมายอาญา มาตรา88 การการปลุกระดมให้มีการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม การโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารย์รัฐบาล การปกครองโดยระบบคอมมิวนิสต์ ถือว่าผิดกฏหมาย
กรณีศึกษาประเทศไทย:อาชญากรรมไซเบอร์และมุมมองของ ICT ต่อสังคม
เหตุผลหลักว่าทำไมอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเริ่มจะมองเห็นได้และเป็นตะกอน ของการกระทำอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กับการวางแผนของประเทศในระยะยาว สำหรับการใช้ประโยชน์ ของเทคโนโลยี ICT เป็นหลักสำคัญจองการพัฒนากลยุทธ์ของประเทศ ตามวิสัยทัศนี้ ขอบเขตการทำงาน 2010 ของรัฐบาล วางแผน ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็น สังคมแห่งสติปัญญาและการเรียนรู้ เช่นพวกE-industry, E-commerce, E-government, E-education และ E-society ทั้งหมดเริ่มใช้งานและขับเคลื่อนโดยการเติบโตล่าสุด ในเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ เริ่มจะมีบทบาทโดดเด่นขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ ปัญหาที่กำลังเติบโตและมีอยู่ในไทย พิจารณาภัยคุกคามที่ร้ายแรง และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะว่ายังเหลือที่ไม่ได้ตรวจสอบ มันอาจจะเกิดการแทรกแซงโดยง่าย กับการทุจริต และต้องการเอาชนะ ในแต่ละ E-Sector จะกลายเป็นเป้าหมายโดยรัฐบาล
สามารถเห็นได้จากชาร์ตด้านล่าง กรณีอาชญากรรมเทคโนโลยีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากระหว่างปี2010และสิบเดือนแรกของปี2011 ตามที่กองปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีในไทย กล่าวว่ามีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมากถึง 73 กรณี ในปี 2010 แต่ความจริงแยกเป็น 431 กรณีเพียงแค่ 10 เดือนแรกในปี 2011 เป็นการเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า ความผิดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตัวเอง (ตัวอย่างเช่นการนำเข้าของการปลอมแปลงหรือข้อมูลเท็จ มีสื่อลามกไว้ในครอบครองหรือกระจายสินค้า ใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่จะคุกคามหรือยอมความปลอดภัยอาณาจักร ) ได้พุ่งสูงขึ้นโดยตัวปัจจัยที่มากกว่า 17.5 ครั้ง (เช่น จาก 21 ในปี 2010 เป็น 387 ในปี 2011) อาชญากรรมที่แพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ ข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบการโจมตี หมิ่นฯ ขโมยข้อมูลประจำตัว หมิ่นประมาท การนำระบบคอมพิวเตอร์ปลอมหรือเท็จ การเล่นพนันทางอินเตอร์เน็ต และการทุจริตอินเตอร์เน็ต
ตาราง 1 กรณีอาชญากรรมเทคโนโลยีปี 2010-2011 (มกราคม-ตุลาคม)
ลักษณะของคดี 2010 2011
1.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับระบบ(เข้าถึงที่ผิดกฎหมาย,โจมตีระบบ / เกิดความเสียหายทำลายการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ 16 13
2. หมิ่นประมาท/หมิ่นบรมฯ 3 6
3. อินเทอร์เน็ตทุจริต / โกง 11 8
4.การพนันออนไลน์ 15 14

ผ่านมาแล้ว 5 ปี ตั้งแต่เกิดรัฐบาลชุดหลังการรัฐประหารที่นำโดย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้น กลายเป็นที่โต้เถียงกันในปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในเรื่องมาตราที่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบัน ว่าควรจะแก้ไขหรือฉีกทิ้ง การประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับการใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลาย เป็นเรื่องจริงที่ในบรรดาประเทศต่างๆในโลกนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยากใช้อินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง เนื่องจากคนไทยนั้นชอบที่จะแสดงความคิดเห็น และแชร์ข้อมูลผ่านทางโซเชียวมีเดียต่างๆตามเว็บบอร์ด บล็อค และโซเชียวมีเดียนั้น การแชร์ข้อมูลดังกล่าวทำให้เราสามารถเเสดงออกทางความคิดได้อย่างเสรี โดยไม่ถูกตรวจสอบหรือถูกเซนเซอร์ก่อน นอกจากนี้ยังสามารถไม่ลงชื่อในการแสดงความคิดเห็นได้ ดังนั้นจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยทำให้โซเชียวมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Hi5, Myspace, LinkedIn และ Twitter ต่างมีจำนวนผู้ใช้ที่เป็นคนไทยค่อนข้างมาก
ก่อนการออกพระราชบัญญัติดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกลับไม่มีเครื่องมือทางกฎหมายเพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆที่เกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต เช่น การโจรกรรมข้อมูล การเปิดเผยรหัสผ่านส่วนตัวให้กับบุคคลที่สาม การลอบฟังข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ภาพลามกอนาจาร และเนื้อหาที่มีความรุนแรง หรือเงื่อนไขของ ISPs ที่มีผลมาจากเนื้อหาที่ลูกค้าอาจจะทำการติดต่อสื่อสารกันไว้ทางอินเตอร์เน็ต โดยการทำผิดกฎบางส่วนนี้ บางครั้งอาจถูกดำเนินคดีภายใต้ Penal Code. ของไทย หรือ Criminal Code แต่ พระราชบัญญัติใหม่ที่ออกมานี้ก็จะมีการกำหนดค่าปรับที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น หรือในบางกรณีก็จะมีบทลงโทษที่หนักกว่าเดิม ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จะให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการทำการเซนเซอร์ในฐานะของผู้มีอำนาจในการเผยแพร่ข้อมูล และทำการบล็อค หรือปิดเว็บไซต์ที่มีถ้อยคำและเนื้อหารุนแรง
อาชญากรรมที่มีลักษณะเฉพาะถูกจัดการโดยกฎหมายนี้ ได้พัฒนาไปสู่อีกขั้นหนึ่ง คือจากการแพร่กระจายไวรัส กลายเป็นการสแปม การก้าวก่ายการใช้คอมพิวเตอร์ของคนอื่น การแพร่กระจายของภาพลามกอนาจาร การโพสข้อความที่มีเนื้อหาทำลายชื่อเสียงของคนอื่น การโพสข้อความที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น
ข้อสังเกต คือ เงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นจากการทำผิด หรือละเมิด(เช่นการดูหมิ่นสถาบัน) ได้ถูกขยายให้รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ(ISPs) และผู้ดูแลเว็บไซต์ที่ดูแลเว็บมีเนื้อหาไม่เหมาะสมนั้น (มาตรา 15) นอกจากนี้ ในมาตราที่ 14 ได้ระบุถึงโทษของใครก็ตามที่มีส่วนช่วยในการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมล์ การรีทวีต ในทวิตเตอร์ หรือการแชร์เนื้อหาลงเฟสบุก ดูในภาคผนวก 5 สำหรับลิสต์การจัดการทางกฎหมายสำหรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
พระราชบัญญัติอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง (มาตราที่ 8-17) ครอบคลุมไปถึงเรื่องการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และส่วนที่สอง (มาตราที่ 18-30) ครอบคลุมถึง บทบาทของผู้มีอำนาจและความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ตารางด้านล่างแสดงบทสรุปย่อของข้อกำหนดในมาตราที่ 1 ของพระราชบัญญัติ (ดูภาคผนวก 5 และ 6 สำหรับบทสรุปในส่วนของข้อกำหนดหลัก)

ข้อกำหนดหลักของพระราชบัญญัติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ปี 2007: มาตราที่5-16

มาตรา บทลงโทษ
มาตราที่ 5 และ 6:การเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตราที่5: โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และ/หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตราที่6: โทษจำคุกเป็นสองเท่าของมาตราที่ 5 และปรับเป็นสองเท่าของมาตราที่5 สำหรับการเปิดเผยรหัสสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
มาตราที่ 7 และ 8:การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตราที่7: โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตราที่8: โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท สำหรับการดักฟังอย่างผิดกฎหมายโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตราที่ 9 และ 10: การสร้างความเสียหายโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ มาตราที่ 9: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการสร้างความเสียหาย การทำลาย การดัดแปลง การแจ้งเตือน หรือ การเพิ่มข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์ของบุคคลที่สาม มาตราที่ 10: บทลงโทษเหมือนกับมาตราที่ 9 สำหรับ การระงับชั่วคราว การล่าช้า การขัดขวาง การรบกวน การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลที่สามให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
มาตราที่11:การสแปม มาตราที่11: ปรับไม่เกิน 100,000 บาท เท่านั้น หมายเหตุ: การสแปมรวมถึงการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือส่งอีเมล์ให้ผู้อื่น โดยการปกปิด การหลอกลวงที่มาของข้อมูลในลักษณะที่เป็นการรบกวนการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
มาตราที่ 12:การสร้างความเสียหายต่อสาธารณชนหรือความมั่นคงภายในประเทศ มาตราที่12: โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท สำหรับผู้ฝ่าฝืนมาตราที่ 9 และ 10 หากผู้ฝ่าฝืนได้สร้างความเสียหายทันที หรือความเสียหายที่ตามมาในภายหลังต่อสาธารณชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และ ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หากหากผู้ฝ่าฝืนได้สร้างความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนและความมั่นคงภายในประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ บริการสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี
มาตราที่ 13:การเผยแพร่โปรเเกรมคอมพิวเตอร์โดยมีจุดประสงค์เพื่อฝ่าฝืนภายใต้มาตรา 5 ถึง 11 มาตราที่ 13: โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับผู้ขาย หรือ ผู้กระจายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดๆ หรือ ส่วนหนึ่งของคู่มือการใช้เพื่อที่จะก่ออาชญากรรมภายใต้มาตรา 5 ถึง 11
มาตราที่14:การนำเข้าข้อมูลผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มาตราที่ 14: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการฝ่าฝืนใดๆ รวมถึงการนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายให้แก่บุคคลที่สาม หรือ สาธารณชน (มาตราย่อย ที่ 1) หรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (มาตราย่อย ที่ 2) การสร้างข้อมูลที่ขัดเเย้งต่อความมั่นคงภายในประเทศ (และราชวงศ์) ภายใต้ penal code (มาตราย่อย ที่ 3) ข้อมูลอนาจาร (มาตราย่อย ที่ 4) หรือการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้
มาตราที่ 15:บทบาทของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต มาตราที่ 15: การยินยอมให้ผู้มีอำนาจสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISPs) ที่ตั้งใจสนับสนุนหรือให้ความยินยอมแก่ค่านายหน้าของผู้ฝ่าฝืน ภายใต้มาตราที่ 14 คำว่า "ตั้งใจ" จะให้การปกป้องแก่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ระวังถึงเนื้อหาบนระบบของตน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตได้รับเเจ้งเกี่ยวกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายนั้น การปกป้องนี้จะไม่มีผลอีกต่อไป หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตใดๆถูกพบว่ามีความผิด เขาหรือเธอมีสิทธิที่จะได้รับโทษเทียบเท่ากับผู้ฝ่าฝืน
มาตราที่ 16:การใส่ร้าย มาตราที่ 16: โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท มาตรานี้กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ทำการโพสรูปของบุคคลที่สามโดยระบบคอมพิวเตอร์ ที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยมีลักษณะที่เหมือนกับเป็นการทำลายชื่อเสียงของบุคคลที่สามนั้นๆให้อับอายและน่ารังเกียจ

การถกเถียงเกี่ยวกับการกระทำผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจในมือมากเกินไป
เรื่องที่เป็นที่วิจารณ์อย่างมากเรื่องหนึ่งก็คือ ขอบเขตการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Appendix 6 section 18-30) ซึ่งยินยอมให้อำนาจเจ้าหน้าที่สามารถสืบสวน รวบรวมและยึดหลักฐานที่สงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างเช่นข้อที่ 18 อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถคัดลอกข้อมูลและไฟล์การเข้าออกของคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่สงสัยว่าจะก่ออาชญากรรม และเจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจทางกฎหมายที่จะเข้าถึงข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ใดๆก็ได้ โดยได้สูงสุด 90 วันเพื่อที่จะสืบสวนและรวบรวมหลักฐาน ข้อที่ 20 อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ภายใต้การรับรองของกระทรวง ICT สามารถหาเหตุผลอันสมควรที่จะหยุดการแพร่กระจายของข้อมูลโดยตรง หรือขอให้ ISP ทำตาม
Wall street journal ได้รายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐของไทยได้บล็อกเวปเพจมากกว่า 40,000 เวปในปี 2010 โดยกระทรวง ICT ที่มีอำนาจโดยตรงในการดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีการพูดถึงจากสถิติของกระทรวงว่า ได้มีการใช้อำนาจในการบล็อกอย่างน้อย 110,000 แหล่งโดยไม่ใช่การติดตามของรัฐบาลและเป็นพวกเขาที่ทำการตรวจสอบเอง เวปที่ถูกบล็อกส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่ไม่ดีต่อรัฐบาล หรือราชวงศ์ของไทย ซึ่งได้มีนักเคลื่อนไหวได้พูดถึงรัฐบาลในแง่ที่ให้ความสำคัญใช้กำลังในการบล๊อกเวปที่มีความสุ่มเสียงต่อนโยบายหรือการปฏิบัติงานของรัฐบาลมากเกินไป ซึ่งแหล่งที่รู้กันดีคือ www.prachathai.com ซึ่งเป็นแหล่งให้ข่าวที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล หลังจากที่มีการก่อตั้งและดำเนินการของเวปได้ 6 ปีเสนอเดี่ยวกับจิกกัด วิจารณ์ เกี่ยวกับการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาล เวปนี้ก็ถูกบล็อกในเดือนเมษายน 2010 แต่ก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อได้ในเดือนตุลาคม 2011

ไม่มีความแตกต่างระหว่างภาพลามกอนาจารและภาพทางศิลปะ
สื่อลามกทางอินเทอร์เน็ตเป็นข้อถกเถียงกันมายาวนานในหลายประเทศ มีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีการอนุญาตให้โพสเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้โดยไม่มีข้อจำกัด ประเทศส่วนใหญ่จะอนุญาตสื่อลามกนี้กับกลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป และห้ามเกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหาทางเพศ ต่อมาการรับรู้ความจริงเกี่ยวกับเส้นที่คั่นระหว่างสื่อลามกกับภาพศิลปะก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งในประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศตะวันตก กฎหมายได้ถุกออกมาเพื่อแยกระหว่างภาพลามกอนาจาร(ซึ่งมักถูกมองว่าผิดกฎหมาย) กับภาพศิลปะ(ที่ได้รับการปกป้อง)
อย่างไรก็ดีกฎหมายไทยได้ประกาศเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งก็ไม่แตกต่าง โดยกองเซ็นเซอร์ของรัฐบาลมีอิสระที่จะปฏิเสธข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและมีบทลงโทษตามกฎหมาย ข้อที่ 14(3) ของกฎหมายว่าด้วยหากมีการนำข้อมูลสื่อลามกมาลงสู่คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตจะต้องโทษจำคุก 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ซึ่งก็ได้มีนักวิจารณ์พูดถึงการที่รัฐบางมีการจัดรูปประเภททางศิลปะ เป็นภาพสื่อลากมาอนาจาร ซึ่งก็ต้องไปดูการให้คำจำกัดความของแต่ละคน
การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำลายชื่อเสียง การลงโทษรุนแรงกว่าในประมวนกฎหมาย
หัวข้อที่ 16 กล่าวถึงผู้ใดที่มีการลงภาพของบุคคลที่สามแล้วทำให้บุคคลผู้นั้นเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือได้รับความอับอาย ซึ่งกล่าวถึงในแง่ของรูปเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงในแง่ของคำพูดซึ่งในประมวนกฎหมายได้กล่าวถึง แต่การลงโทษภายใต้ความผิดของข้อที่ 16 คือการจำคุก 3 ปี ซึ่งสูงกว่าในประมวนกฎหมายซึ่งกล่าวไว้ 2 ปี ซึ่งตรงข้ามกับการลงโทษในการดูหมิ่นราชวงศ์ซึ่งโทษในประมวนกฎหมายสูงกว่าในนี้
ในประเทศที่พัฒนาส่วนมากจะตีความการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทางอินเทอร์เน็ตในแง่ที่ต้องมีการพูด วิจารณ์สื่อความหมายใต้รูป ซึ่งนักวิจารณ์ได้มองว่าการที่เห็นแค่รูปแล้วตีความว่าทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทำให้เกิดการฟ้องร้องนั้น เป็นการจำกัดสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงผู้ดูแลเวปไซด์ส่วนใหญ่โดนจับเพราะข้อหานี้ต่างต่อต้านกฎอันนี้
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นราชวงศ์เพื่อยังคงความเคารพต่อราชวงศ์
กฎหมายเกี่ยวกับผู้กระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ยังคงเฝ้าดู และดำเนินการฟ้องร้องกับเนื้อหาออนไลน์ที่เป็นผลกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งรวมถึงเรื่องของราชวงศ์ด้วย จากเหตุการณ์รัฐประหารตั้งแต่ปี 2006 ที่รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรถูกยึดอำนาจ ข้อหาการดูหมิ่นราชวงศ์เป็นข้อหาที่มีการฟ้องร้องดำเนินการทางกฎหมายมากที่สุดกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
การลงโทษทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ดูหมิ่นราชวงศ์จะถูกจำคุก 3-5 ปีแต่ภายใต้ประมวนกฎหมายอาญาหากเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์จะจำคุกสูงสุด 15 ปี
ส่วนนี้ดูเหมือนจะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ประชาชนที่จะแสดงความเห็นอย่างอิสระเพราะต้องคำนึงถึงข้อลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรง ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับกฎหมายข้อนี้มาก และในหลายเคสที่ผ่านมาทำให้ต้องให้การเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อให้เข้าใจเหตุผลของกฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นราชวงศ์ จำเป็นต้องเข้าใจหน้าที่และบทบาทของราชวงศ์ไทยในสังคมของวัฒนธรรมไทย
ราชวงศ์ในประเพณีวัฒนธรรมของไทย
ประเทศไทยเป็น 1 ใน 26 ประเทศที่มีการใช้ระบอบราชวงศ์ ระบบกษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ราชวงศ์เป็นส่วนที่สูงให้ความสำคัญแต่ไม่ได้มีอำนาจบริหารบ้านเมือง ซึ่งหน้าที่ทางการบริหารจะเป็นของรัฐบาลที่ได้มาจาการเลือกตั้งจากประชาชน ราชวงศ์ก็อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ ประเทศอังกฤษ เบลเยี่ยม นอร์เว เนเธอแลนด์ สเปน ญี่ปุ่น และประเทศไทย ส่วนระบบที่สองคือ ระบบที่กษัตริย์มีหน้าที่ในการปกครองและบริหารบ้านเมืองโดยตรง ซึ่งประเทศที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศอิสลามเช่น ซาอุดิอาระเบีย บรูไน นอกจากนี้ก็มีสวาซิลแลนด์ และแอฟริกา
ประวัติความเป็นมาของราชวงศ์ไทยมีมายาวนานเกือบพันปี ซึ่งราชวงศ์จะได้รับการเคารพและยกย่องทางสังคมอย่างสูง ความสัมพันธ์ของราชวงศ์ใกล้ชิดกับประชาชนซึ่งแตกต่างจากราชวงศ์ในประเทศอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก 64 ปี ได้รับการความจงรักภักดีจากประชาชน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการยอมรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย ทรงคิดค้นโครงการหลวงต่างๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การเกษตรกรรม การจัดการน้ำ เป็นต้น พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ของไทยกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย รูปภาพของท่านมีอยู่ทุกหนแห่ง วันเกิดของทั้งพระมหากษัตริย์และพระราชินีก็เป็นวันประจำชาติ ดังนั้นการดูหมิ่นราชวงศ์ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายกับราชวงศ์เท่านั้น ยังเป็นอันตรายต่อสถาบันและสังคมอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2005 ดังนี้ “……ความจริง The King can do no wrong คือ การดูถูกเดอะคิงอย่างมาก เพราะว่าเดอะคิงทำไม can do no wrong ไม่ได้ do wrong แสดงให้เห็นว่าเดอะคิงไม่ใช่คน แต่เดอะคิงทำ wrong ได้….” ซึ่งท่านได้ให้พระราชดำรัสที่ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
“….แต่เมื่อบอกว่า ไม่ให้วิจารณ์ ไม่ให้ละเมิด ไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ก็ลงท้าย ก็เลยพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบากแย่ อยู่ในฐานะลำบาก ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ให้วิจารณ์ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวนี่ ก็ต้องวิจารณ์ ต้องละเมิด แล้วไม่ให้ละเมิด พระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไม่ดี ซึ่งถ้าคนไทยด้วยกันก็ยังไม่กล้า สองไม่เอ็นดูพระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากละเมิด แต่มีฝ่ายชาวต่างประเทศ มีบ่อยๆ ละเมิดพระเจ้าอยู่หัว ละเมิดเดอะคิง แล้วก็หัวเราะเยาะว่าเดอะคิงของไทยแลนด์ พวกคนไทยทั้งหลายนี่ เป็นคนแย่ ละเมิดไม่ได้ ในที่สุดถ้าละเมิดไม่ได้ก็เป็นคนเสีย เป็นคนที่เสีย….
“…ที่จริงควรเข้าคุก แต่เพราะฝรั่งบอกอย่างนั้น ก็ไม่ให้เข้า ไม่มีใครกล้าเอาคนที่ด่าพระมหากษัตริย์เข้าคุก เพราะพระมหากษัตริย์เดือดร้อน เขาหาว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนที่ไม่ดี อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นคนที่จั๊กจี้ ใครว่าไรซักนิด ก็บอกให้เข้าคุก ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก ตั้งแต่สมัยรัชกาลก่อนๆ เป็นกบฏ ก็ยังไม่จับใส่คุก ไม่ลงโทษ รัชกาลที่ 6 ท่านไม่ลงโทษ ไม่ได้ลงโทษผู้ที่เป็นกบฏ มาจนถึงต่อมา รัชกาลที่ 9 ใครเป็นกบฏ ก็ไม่เคยมีแท้ๆ ที่จริงก็ทำแบบเดียวกันไม่ให้เข้าคุก ให้ปล่อย หรือถ้าเข้าคุกแล้วก็ให้ปล่อย ถ้าไม่เข้าก็ไม่ฟ้อง เพราะเดือดร้อนผู้ที่ถูกด่า เป็นคนเดือดร้อน
อย่างที่คนที่ละเมิดพระมหากษัตริย์ และถูกทำโทษไม่ใช่คนนั้นเดือดร้อน พระมหากษัตริย์เดือดร้อน นี่ก็แปลก คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้อง ให้จับเข้าคุก อันนี้นักกฎหมายก็สอนนายกฯ ว่าต้องฟ้อง ต้องลงโทษ ก็สอนนายกฯ ว่าใครบอกว่าให้ลงโทษ อย่าลงโทษเขา ลงโทษไม่ดี ลงท้ายไม่ใช่นายกฯ เดือดร้อน แต่พระมหากษัตริย์เดือดร้อน อาจจะอยากให้พระมหากษัตริย์เดือดร้อน ไม่รู้นะ เขาทำผิด เขาด่าพระมหากษัตริย์ เพื่อให้พระมหากษัตริย์เดือดร้อน และเดือดร้อนจริงๆ เพราะใครมาด่าเราชอบไหม ไม่ชอบ แต่ถ้านายกฯ เกิดให้ลงโทษ แย่เลย…”
แต่อย่างไรก็ดีถึงจะมีพระราชดำรัสเช่นนี้ กฎหมายไทยก็ยังจัดการกับคนที่ดูหมิ่นราชวงศ์ ทั้งคนไทยและต่างชาติ
เคสของ Joe Gordon
ในปี 2011 มีลูกครึ่งไทย-อเมริกาชื่อ Joe Gordon ถูกจับที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เนื่องจากเข้าบำบัดทางการแพทย์ในประเทศไทย ความผิดของเขาคือ การแปลประวัติต้องห้ามของพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชนำขึ้นโพสต์บนอินเตอร์เน็ต ในเบื้องต้นเขาเคยคิดว่าเกิดจากความผิดพลาดบางอย่างแน่นอน หลังจากนั้น เขาถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขากล่าวปกป้องตัวเองว่า“ผมเป็นคนอเมริกัน มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศอเมริกานี้” แต่โชคร้ายสำหรับเขาที่ข้อกล่าวหาของทางการไทยในกฏหมายการกระทำอาชญากรรมคอมพิวเตอร์นั้น กำหนดให้ใช้กับทุกคนรวมทั้งชาวต่างชาติที่กระทำความผิดนอกประเทศ
เมื่อเริ่มการพิจารณาคดี อลิซาเบธ แพลต กงสุลสหรัฐประจำประเทศไทย กล่าวว่า "… วอชิงตันถือว่าเป็นเรื่องรุนแรงเพราะมันได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้สิทธิของเขาที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก” การแสดงความเห็นของเขาไม่ได้รับการยอมรับเพียงพอความเห็นของเธอไม่ได้รับอย่างดี ไม่กี่วันหลังจากนั้นผู้สนับสนุนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายร้อยคนได้จัดเดินกระบวนประท้วงที่หน้าสถานทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯ "ไม่ควรแซกแซงกิจการภายในของประเทศไทย" เพราะเป็นเรื่องของเราเอง
เคสกรณีถูกกล่าวหาว่ามีผู้ทุจริตในตลาดหุ้น
เมื่อกลางเดือนตุลาคม 2009 ตลาดหุ้นไทยราคาหุ้นไทยปรับตัวลดลงสองวันติดต่อกันตามข่าวลือที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ตว่าสุขภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรุดลงหลังจากที่เสด็จเข้าไปอยู่โรงพยาบาลในช่วงกลางเดือนกันยายน และได้ปรากฏพระองค์ต่อหน้าสาธารณชนหลายครั้งในโอกาสต่างๆ จนถึงเดือนเมษายน 2011 พระองค์ยังคงประทับอยู่ในโรงพยาบาล
ในเดือนพฤศจิกายน 2009 เจ้าหน้าที่ทางการไทยจับกุมพนักงานของ KT-sefigo Ltd. จำนวน 4 คน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท ยูบีเอส (ไทยแลนด์) จำกัด ภายใต้ข้กล่าวหาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้โพสต์ข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อาจถือได้ว่า จะเป็นแนวโน้มให้เกิดความเสียหายกับความมั่นคงของชาติหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน (มาตรา 11) นาง ธีระนันท์ วิภูชนินท์ อดีตพนักงานบริษัท ยูบีเอส และนายคธา ปาจะจิริยาพร ที่ทำงานให้กับโบรกเกอร์ เคที ซีมิโก้ ทั้งคู่ถูกจับกุม โดยนางธีระนันท์ ให้การว่า เธอเพียงแต่แปลข่าวจากเว็บไซต์ของ Bloomberg และโพสต์ไว้ในฟอรั่มออนไลน์ที่เป็นที่นิยมคือ prajatai.com นางธีระนันท์ ให้การว่า "ทุกคนในวันนั้นต้องการที่จะรู้สาเหตุที่ราคาหุ้นในตลาดตกลง และตลาดหุ้นได้ตกลงไปก่อนแล้ว ก่อนเราได้แปลข่าวในตอนเย็น" นอกจากนี้นายคธา ให้การเชื่อมโยงไปยังบทความของ Bloomberg แต่เขาก็ยังเพิ่มความเห็นของเขาเองลงไปด้วย ก่อนโพสต์ลงบนเว็บไซต์ Fah Diew Kan ทั้ง นางธีระนันท์ และนายคธา ถูกตั้งข้อหาภายใต้การกระทำอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (มาตรา 19) เพียงแต่ทั้งสองคนได้แปลบทความจากแหล่งที่เชื่อถืออย่างบริสุทธิ์ใจว่าเป็นความจริง
เคสของ Ampon Tangnoppakul
กรณีที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างเฉียบพลันและยังคงคุกกรุ่นอยู่ถึงแม้นักโทษได้เสียชีวิตไปแล้ว นั้นคือการที่คุณปู่วัย 61 ปี, นายอำพน ตั้งนพกุล คนขับรถตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจากสมุทรปราการที่ถูกจับในช่วงกลางปี 2011 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นที่รู้จักกันมากในไทย ว่า อาก๋งหรือคุณปู่หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่าลุง SMS อาชญากรรมที่เขาถูกกล่าวหาคือการส่งข้อความที่ทำให้ราชวงศ์เสื่อมเสียอย่างเป็นทางการ ข้อหาที่ถูกกล่าวโทษคือ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างรุนแรง นายอำพนปฏิเสธทุกข้อหา อ้างว่าเขาไม่รู้แม้กระทั่งวิธีการส่ง SMS และเขาให้การว่าอาจมีคนอื่น (เขาไม่รู้ว่าใคร) ได้ส่งข้อความในนามของเขา แม้จะมีข้อแก้ตัวอ้างต่อศาลอย่างไร ศาลก็ยังพิจารณาว่าเขาได้กระทำความผิดจริง และถูกตัดสินจำคุกในพฤศจิกายน 2011 ถึง 20 ปี หลังได้ยินคำพิพากษาให้ต้องรับโทษจำคุก 20 ปี นายอำพนถึงกับทรุดตัวลงในศาล เขาสุขภาพไม่ดีมาตั้งแต่ก่อนถูกจับกุมแล้ว ทำให้สุขภาพของเขาทรุดลงอย่างรวดเร็วในระหว่างอยู่ในที่คุมขัง เขาเสียชีวิตในโรงพยาบาลเรือนจำกรุงเทพฯเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012
กรณีของนายอำพน ทำให้เกิดความกังวล ยั่วยุให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความรุนแรงของกฏหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประมวลกฎหมายอาญาของไทยและการกระทำผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ( มาตรา 20 ) หลายคนรู้สึกว่าภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น (เช่นกรณีที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าเขาได้ส่งข้อความนั้นจริง และอาจจะเป็นการกระทำของคนอื่น ที่อาจเข้าถึงโทรศัพท์ของเขาได้) การต้องติดคุก 20 ปีของคนอายุ 61 ปี ก็เท่ากับว่าเขาถูกจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้ ยังคงแทะโลมจิตสำนึกของคนหลายทั้งในสังคม
ท่ามกลางกระแสการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์บนเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ดำเนินการปราบปราม โดยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเข้มงวด โดยการปิดเว็บไซต์ต่างๆที่ละเมิดอย่างจริงจัง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รายงานว่า ศาลได้ใช้มาตรการบล็อกเพื่อการป้องกันเกือบ 75,000 web pages โดยมีจำนวน 57,330 web pages ถูกปิดตัวลงเพราะถูกกล่าวหาว่า ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 44,000 web pages ถูกบล็อกในปี 2010 ( ตามมาตรา 14 )
เป็นที่ชัดเจนจากเหตุการณ์ทั้งหลายดังกล่าวนี้ ผู้มีอำนาจสองคนคือ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Dungen ยังคงครุ่นคิดถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่แต่ละคนต้องตัดสินใจเพื่อให้ Dungen มั่นใจว่าตัวเองไม่ปรารถนาที่จะถูกจับเข้าคุกไปอย่างง่ายดายในขณะที่จะผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองในระหว่างการมาเยือนราชอาณาจักรไทย ส่วนคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้น เธอคงไม่มีความปรารถนาที่จะเห็นกฎหมายดังกล่าวทำให้นักลงทุนตกใจกลัวหนีไป ซึ่งเธอกำลังหาช่องทางที่จะช่วยนำการลงทุนด้านICTจากต่างประเทศโดยตรง เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็น "สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้" ที่เธอเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นของประเทศที่ต้องแข่งขันกันในระยะยาว สำหรับเหตุผลเหล่านี้ ผู้มีอำนาจทั้งคู่เกือบจะต้องสูญเสีย ก่อนเข้าคุกไปอย่างเป็นกันเอง ที่จะตัดสินใจหาแนวทางปฏิบัติ ให้ก้าวหน้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อลดความเสี่ยงของพวกเขา
เคสของ Dr. Somsak Jeamteerasakul
ดร.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในกรุงเทพ ถูกจับเมื่อ 22 เมษายน 2011 ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดร.สมศักดิ์ เป็นนักวิจารณ์กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตัวยง และได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบกษัตริย์ ดร.สมศักดิ์ เป็นนักพูดตามเวทีต่างๆอย่างสม่ำเสมอ ทั้งระบบ online and offline และเขาได้โพสต์ความเห็นของเขาผ่าน Facebook และ เว็บไซส์สาธารณะต่างๆอย่างสม่ำเสมอ( มาตรา 21-22 ) หลังการถูกจับ เขาตอบโต้ว่า
“ผมไม่เคยพูดให้มีการยกเลิกระบบกษัตริย์ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงระบบให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของโลก การเปิดให้มีการพูดคุยกันถือเป็นสิ่งจำเป็น เราต้องมีการถกเถียงกันถึงบทบาทของกษัตริย์ด้วยเหตุและผล สำหรับผู้นิยมระบอบกษัตริย์ ผมขอถามว่า เราจะทำอย่างไรกับความเห็นที่แตกต่างของคนเป็นล้าน”
นักหนังสือพิมพ์และนักวิชาการจำนวนมาก ภายหลังได้จัดทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยกเลิกการตั้งข้อหาแก่ ดร.สมศักดิ์ เพื่อนำไปยังจุดสิ้นสุดของการจำกัดเสรีภาพในการพูด เขาเขียนว่า ผู้มีอำนาจต้องตระหนักว่าการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้ปิดกั้นความจงรักภักดี แต่เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย
เนื่องจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นกฎหมายครอบจักรวาล และไม่ยุติธรรมเพียงพอในการกล่าวหาบุคคลอื่นด้วยความรุนแรง เปิดโอกาสให้ผู้มีเจตนาดีใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นด้วยความเท็จ นั่นคือ การสร้างสถานการณ์ให้ใครก็ได้สามารถกล่าวหาผู้อื่นว่าโจมตีให้ร้ายดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์และครอบครัว ซึ่งเหยื่อผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าใครเป็นเป็นผู้ใส่ความพวกเขา มีความยุติธรรมน้อยมากในการกล่าวบุคคลภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ การดำเนินคดีภายใต้กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองได้มีการประเมินว่า มีคดีอยู่จำนวนมากกว่า 400 คดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112ประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในปี 2010 คดีต่างๆไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน ตามสถิติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ออกโดยกองปราบปรามเทคโนโลยีอาชญากรรม รวม 73 คดีในปี 2010 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 431 คดีในปี 2011 คดีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงของชาติ ”
ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
อีกบทบัญญัติหนึ่งที่สร้างความขัดแย้งคือการกระทำความผิดตามมาตรา 15 ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหากับ ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการที่จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้กระทำความผิดตามมาตรา 14 รวมถึงเจ้าของเว็บไซต์และเจ้าของเว็บบอร์ดที่เป็นผู้จัดหาวัสดุต้องห้ามตาม มาตรา 14 นักวิจารณ์หลายคนได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการได้รับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดหลัก เพราะพวกเขาเพียงแต่ให้บริการทางเทคนิคและไม่ได้สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย
เมื่อมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมและผู้สังเกตการณ์ เริ่มรู้ว่าบางเว็บไซต์หรือเจ้าของเว็บบอร์ดพบว่าตัวเองเริ่มจะผิดกฏหมาย โดยเขาไม่ต้องรอนาน เพราะเมื่อ 6 มีนาคม 2009 นาง จีรนุช เพิ่มชัยพร อายุ 44 ปี เว็บมาสเตอร์ที่ได้รับความนิยมแห่งประเทศไทย คือเว็บไซต์ประชาไทย ถูกจับโดยตำรวจปราบปรามอาชญากรรมและตั้งข้อหาภายใต้มาตรา 15 ข้อหาคือ ล้มเหลวในการลบข้อความให้ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อความที่ไม่เหมาะสมที่ถูกโพสต์โดยผู้ใช้ที่ไม่ระบุชื่อ จากหนังสือพิมพ์ Financial Times นาง จีรนุช เพิ่มชัยพร ได้โต้แย้งว่ากฏหมายดังกล่าว "กำลังสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว" "ฉันไม่ได้พูดอะไร ฉันไม่ได้เขียนอะไร และฉันไม่ได้โพสต์อะไรเลย" เธอว่า "เว็บมาสเตอร์อย่างฉันกำลังถูกกลั่นแกล้ง"
กรณีของนางจิรนุชมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ เช่น Google และ Facebook Mr. John Ure กรรมการผู้จัดการของ Asia Internet Coalition สมาคมการค้าที่มีพลังที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Google ,Ebay , Skype และอื่นๆ คดีของนางจิรานุช ค่อนข้างละเอียดอ่อน การตัดสินลงโทษคุณจิรานุช จะเป็นบรรทัดฐานส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในอนาคตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย "ถ้าพวกเขา หมายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต พบว่าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ก็จะเป็นอันตรายอย่างมากต่อเศรษฐกิจดิจิตอลทั้งหมดของประเทศไทย" เขาระบุ "เครือข่ายอีคอมเมิร์ซ เครือข่ายทางสังคมและอื่นๆที่ทุกคนชอบ จะหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง" นอกจากนี้แม้ว่าเขาจะไม่ได้พูดเช่นนั้น (เขาไม่จำเป็นต้องพูด) ผู้สังเกตการณ์อุตสาหกรรม ได้เข้าใจแนวโน้มการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมโดยตรงจากต่างประเทศในอนาคตของไทย จะหยุดชะงักและลดลงอย่างมาก ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่คล้ายกัน
ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
มาตรา 26 ของการกระทำที่ระบุว่าผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นเวลาอย่างน้อยเก้าสิบวันนับ แต่วันที่ข้อมูลถูกใส่ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (ดูภาคผนวก 6 สำหรับคำจำกัดความของสี่ประเภทที่แตกต่างกันของผู้ให้บริการที่ครอบคลุมในส่วนของการกระทำนี้) ตามมาตรานี้ยังระบุว่า ถ้าจำเป็นเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานขึ้น แต่ไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้มาตรานี้ ผู้ให้บริการอาจถูกบังคับให้ต้องจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการชี้มูลความผิดของผู้ใช้บริการได้ วัตถุประสงค์ของมาตรานี้ คือการอำนวยความสะดวกในการรวบรวมหลักฐานการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดและการติดตามตัวตนของผู้กระทำผิด พูดด่ามาตรานี้มีความตั้งใจป้องกันการใช้อินเทอร์เนตโดยไม่ระบุชื่อผู้ใช้
ความต้องการของส่วนนี้ประเมินค่าใช้จ่ายสูง ในการทำธุรกิจของ ISP โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางเพราะการลงทุนในระบบ (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) เพื่อให้คอมพิวเตอร์บันทึกแฟ้มซอฟแวร์จราจรของข้อมูลเพียงอย่างเดียว มีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท( ประมาณ 3,400 US Dollars) ค่าใช้จ่ายของทั้งระบบจะอยู่ในช่วง 1-10 ล้านบาท ( 34,000- 340,000 USDollars) อาจารย์ สาวตรี สุขศรี ศาสตรจารย์ทางอินเทอร์เน็ตและกฎหมายสื่อของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กรุงเทพฯชี้ให้เห็นว่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการจัดเก็บจราจรทางคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะเป็นค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ความล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามก็อาจจะเสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับการกระทำที่กำหนดไว้ว่าผู้ให้บริการใด ๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีการปรับเป็นเงิน 500,000 บาท (17,000 USDollars) สำหรับความผิดแต่ละกระทง
สิ่งที่ Fatbook และ CEO Dungen กังวล
ข้อความที่ถูกยกเลิกทั้งหมดจำนวนมากจะเกี่ยวข้องกับ Tom Dungen สิ่งที่ตามมาของเขาในปี 2004คือการออกตัวของ fatbook ,social network website ของเขาได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นหนึ่งในMajor Website ของกลุ่มในปี 2012 ในเดือนพฤษภาคม 2012 fatbook มีผู้ใช้งานเกินกว่า 900 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของผู้ใช้งานเหล่านั้นใช้มือถือในการเข้าสู่ระบบ ผู้ใช้งานจำต้องขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกก่อนการใช้ หลังจากนั้นพวกเขาสามารถสร้างสรรค์ประวัติของตัวเองแล้วเชื่อมโยงผู้ใช้งานรายอื่นเป็นเพื่อน Website ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข่าวสาร รวมถึงรูปถ่านและวีดีโอ กับเพื่อนของพวกเขา มากไปกว่านั้น ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเองสนใจกับคนที่มีรสนิยมคล้ายกัน เช่นกลุ่มท่องเที่ยว ร็อคแอนด์โพล หรือกลุ่มผู้คลั่งรถแข่งเป็นต้น การโฆษณาและการขายของออนไลน์กลางเป็นรายได้หลักของ Facebook ซึ่งเติบโตขึ้นแม้จะเติบโตได้ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้จดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น
Fatbook ประสบความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์ในอเมริกาเหนือและยุโรป Social website market ได้ถูกขัดขวางในตลาดประเทศจีนและตลาดรัสเซียเนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลทั้งสองในที่สุด fatbook ก็ยังเป็นผู้นำอยู่ในของประเทศเหล่านั้น ความขัดแย้งที่สำคัญจะเป็นประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่นความมีอิสระในการพูด เช่นเดียวกับในบางประเทศเช่นจีน กฏหมายต้องการให้เจ้าของเว็บไซส์เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าต่อรัฐบาล มากกว่าที่จะเป็นการละเมิดสิ่งที่มันมองว่าเป็น "สาบานศักดิ์สิทธิ์" ให้กับผู้ใช้เพื่อรักษาความลับของตัวตนของพวกเขา Fatbook จึงได้ถอนตัวออกจากตลาดเหล่านั้น
ปัจจุบัน Fatbook ได้เริ่มการขยายกิจการโดยตรงในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยถูกเลือกให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งที่สองของบริษัทเพื่อจู่โจมตลาดในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับจีนและรัสเซียนั้นกำลังเริ่มต้น เว็บไซส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยจำนวนผู้จดทะเบียนของ Fatbook และผู้ทำโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกือบ 90% ของผู้จดทะเบียนทั้งหมดในประเทศไทย เชื่อกันว่า Fatbook ในประเทศไทย ต่างคนต่างได้ประโยชน์ร่วมกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย ต่อไปการกระจายของ Fatbook ภาคภาษาไทย บริษัทจะได้รับประสบการณ์ที่ล้ำค่าสำหรับการทำกำไรจากตลาดในภูมิภาคอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของไทยได้ประกาศใช้และมีผลบังคับ มีสองบทบัญญัติคือพอใจในความยุ่งยากและไม่พอใจ ทำให้ Dungen ประหลาดใจที่ประเทศไทยยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเป็นที่ตั้งบริษัทจู่โจมเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา
ในเบื้องต้น เพราะว่า Fatbook อนุญาตให้ผู้ใช้ Website คิดและร่วมใช้ข้อความ บทบัญญัติในมาตรา 15 ของกฏหมายผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ เป็นความกังวลอย่างมาก เขาคิดว่าคดีต่างๆเกี่ยวกับ Webmaster ของไทย คุณจิรานุช เปี่ยมชัยพร วัย 44 ปีอยาในระหว่างการดำเนินคดีตามมาตรา 15 ในข้อกล่าวหา ไม่ลบข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผิดกฏหมายอย่างรวดเร็วในเว็บไซส์ที่เธอรับผิดชอบอยู่ หากตัดสินออกมาเธอจะต้องติดคุกถึง 20 ปี Mr. Dungen ก็ไม่อาจช่วยเหลือเพียงแต่มีความวิตกกังวลว่าคุณจิรานุช จะประสบชะตากรรมอย่างไร
เรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆคือ หลายประเทศในภูมิภาคนี้กำลังเตรียมการเอาอย่างประเทศไทยที่กำหนดโทษความรับผิดชอบของเจ้าของเว็บไซส์ สำหรับข้อความที่ผิดกฎหมายที่ถูกโพสท์โดยผู้เข้ามาใช้งาน ตัวอย่างเช่น ประเทศเวียตนาม กำลังเตรียมการขยายกฎหมายต่อต้านผู้ก่อการร้ายเอาความผิดเจ้าของเว็บไซส์ รวมถึงการบล็อก เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่วิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ หรือเจ้าของผู้ก่อตั้งเว็บไซส์ที่ทำให้ประชาชนโพสท์ขอความด่ารัฐบาล ในประเทศมาเลเซีย เจ้าของเว็บไซส์มีสิทธิได้รับโทษหากมีข้อความผิดกฎหมายถูก upload เข้าไปอยู่ในเว็บไซส์ของเขา แนวโน้มดังกล่าวนี้กำลังถูกแพร่จากประเทศในเอเซียและรัสเซียไปยังประเทศกำลังพัฒนาในลาตินอเมริกา ขณะนี้ศาลเลือกตั้งของบราซิลอนุญาตให้จับกุมผู้บริหารระดับสูงภายใประเทศของ Google เนื่องจากบริษัทละเลยต่อการลบข้อความดูหมิ่นคู่แข่งนายกเทศมนตรีในท้องถิ่นประเทศบราซิล ที่รณรงค์ติดประกาศไส่ร้ายคู่ต่อสู้ Google ต้องรับผิดชอบในกรณีที่ “กูเกิลเชื่อว่า ผู้ลงคะแนนมีความชอบธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตออกความเห็นเกี่ยวกับคู่แข่ง เป็นไปตามความหมายของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง “
ความกังวลเกี่ยวกับ พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ใน Section 26
สาเหตุที่สองของความกังวลที่มาตรา 26 ต้องการคือ ตาม พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผู้จัดทำ website ต้องมีการเก็บข้อมูล Traffic Data อย่างน้อยเป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันหากบริษัทหนึ่งบริษัทใดที่เป็นลูกค้าของบริษัทผู้จัดทำ Website ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมายใน Section 26 แล้ว บริษัทผู้จัดทำ Website ก็จะได้รับโทษด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นนี้มีความขัดแย้งกับนโยบายของผู้จัดทำ Website อย่างเช่น Fatbook ที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า
มุมมองและข้อกังวลของนายกรัฐมนตรีมีข้อคิดเห็นในเรื่องของ พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ใน 2 มุมมอง
ด้านบวกต่อรัฐบาล ก็คือเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการป้องกันและภัยคุกคามจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ด้านลบต่อรัฐบาล ก็คอ กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นผลเสียในแง่ของการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการลงทุนและแหล่งเงินทุนจากต่างชาติ
ความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันจากต่างชาติ
จะเห็นได้จากกรณีที่รัฐบาลได้บล็อก Websites อย่างน้อย 110,000 websites ในปี 2553 เนื่องจากมีการเขียนวิพากย์วิจารณ์ต่อต้านรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นหนึ่งในรัฐของภูมิภาคที่จำกัดสิทธิ เสรีภาพเหมือนเช่นในประเทศจีน พม่า ในขณะที่ Human Rights Watch ได้กล่าวว่าการตรวจสอบอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยเป็นการไม่เคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ
ขัดขวางการลงทุนจากต่างชาติ
Foreign direct investment (FDI) บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนจะได้รับประโยชน์ในเรื่องของค่าแรงที่ถูก และการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ
ในขณะที่ประเทศเจ้าบ้าน จะได้รับประโยชน์ในเรื่องการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการได้รับประสบการณ์ที่เป็น Best Practice ทักษะและเทคโนโลยีต่าง ๆ
ความแตกต่างของอาชญากรรมไซเบอร์ กับ อาชญากรรมแบบเดิม ๆ
อาชญากรรมไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทั่วโลก และการเก็บรวบรวมหลักฐานการกระทำผิดจะค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากความซับซ้อน ของระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และอาจเกี่ยวพันกับอำนาจการตัดสินใจของศาลหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น ตัวผู้กระทำผิดอาจอยู่ที่อเมริกา แต่ Server ต่าง ๆ ที่เก็บข้อมูลผิดกฎหมายอาจติดตั้งอยู่ที่ยุโรป แต่ผลกระทบของอาชญากรรมกลับมาอยู่ที่ประเทศไทย เป็นต้น

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License