Dbms Market And Storage Devices Market

Describe DBMS market and storage devices market in Thailand

• ตลาดซอฟต์แวร์ (Software Market)
ตลาดซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. Enterprise Software
2. Mobile Application Software (ไม่รวมซอฟต์แวร์เกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
3. Embedded System Software (ไม่รวมซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่)
4. ซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆ (ไม่รวมซอฟต์แวร์เกม) เช่น ซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา และซอฟต์แวร์เชิงวิศวกรรม เป็นต้น

1unXsJ.jpg

ตารางแสดงมูลค่าและอัตราการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ปี 2554 และประมาณการปี 2555

24gmNq.jpg
ตารางแสดงสัดส่วนมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ที่ตกอยู่กับผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ ปี 2554

• Database Management System(DBMS)
DB คือ Database หมายถึง ฐานข้อมูล
M คือ Management หมายถึง การจัดการ
S คือ System หมายถึง ระบบ
DBMS คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข การเข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ ภายในฐานข้อมูลซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือ จะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS นำมาแปล (Compile) เป็นการกระทำต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลใน ฐานข้อมูลต่อไป
DBMS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์ ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น

หน้าที่ของ DBMS
1. ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ
2. ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ
3. ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้
4. ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
5. ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)
6. ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

• องค์กรผู้ให้บริการเกี่ยวกับการใช้ระบบ Database Management Systems (DBMS) ที่มีชื่อเสียง
1. สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใช้ขั้นสุดท้าย (ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมก็สามารถใช้ได้)
- Microsoft Access, Lotus Approach, Inprise’ s dBASE
2. สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ (มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม สามารถใช้งานในระดับซับซ้อนได้ ใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภท Midrange, Mainframe, หรือ Supercomputer)
- Oracle, IBM, Microsoft, Informix, Sybase
3. สำหรับตลาดผู้ใช้เครื่อง Personal Computer (PC)
- บริษัท Microsoft เป็นผู้นำตลาด
4. สำหรับตลาดผู้ใช้เครื่อง Mainframe Computers
- บริษัท Oracle เป็นผู้นำตลาด

3KQimZ.jpg
รูปแสดงส่วนแบ่งตลาดของผู้ให้บริการ DBMS สำหรับเครื่องคอมฯขนาดกลางถึงขนาดใหญ่

• ภาพแสดงส่วนแบ่งการตลาดของ DBMS ทั่วโลก
4O7srk.jpg
5j85k4.jpg
6xTj4m.jpg
7N8sz.jpg

• ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่ให้บริการแก่ภาคส่วนอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จึงขึ้นอยู่กับการขยายตัวของภาคการผลิตในสาขาต่างๆ และการลงทุนด้าน ITของภาครัฐ
ตลาดซอฟต์แวร์และบริการส่วนที่ไม่รวม Embedded System Software ในปี 2554 ขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 10 จากปี 2553 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงพอสมควร แต่ก็ยังเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายเดิมที่ผู้ประกอบการตั้งไว้เล็กน้อย ด้วยสาเหตุจากการเกิดปญั หาอุทกภัยในหลายจังหวัดในภาคกลางในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้าน IT ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ประสบปญั หาน้ำท่วมโดยตรงและต่อการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งถูกตัดงบประมาณด้านการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ลงเพื่อนำงบประมาณไปใช้เพื่อแก้ไขปญั หาน้ำท่วมแทน
สำหรับปี 2555 การสำรวจผู้ประกอบการทำให้คาดการณ์ได้ว่า การเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์และบริการ (ส่วนที่ไม่รวม Embedded System Software) จะเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณร้อยละ 17 การขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญคือ
(1) เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีการฟื้นตัว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 5.5-6.5 ทำให้สาขาเศรษฐกิจต่างๆโดยเฉพาะภาคบริการสมัยใหม่ซึ่งใช้ระบบ IT ในสัดส่วนที่สูง เช่น ธนาคาร การเงินและประกันภัย ค้าปลีก การแพทย์และสาธารณสุข และโทรคมนาคมมีการขยายตัวตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน คาดว่า ในปี 2555 ภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจจะมีการลงทุนด้าน IT เพื่อให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้ยังไม่มีโครงการขนาดใหญ่ก็ตาม
(2) นอกเหนือจากการเติบโตโดยปรกติแล้ว กิจการในภาคบริการหลายแห่งที่ใช้ ITในสัดส่วนที่สูง โดยเฉพาะในสาขาธนาคาร และโทรคมนาคม จะมีการลงทุนในปี 2555 มากขึ้นเพื่อเปลี่ยนระบบ Core Banking และระบบ Billing ตามลำ ดับ โดยในกรณีของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้น คาดว่า จะมีการลงทุนในระบบ Billing เพื่อรองรับบริการ 3G หลังจากการประมูลใบอนุญาตบริการดังกล่าว ซึ่งมีกำหนดในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 นอกจากนี้ คาดว่า ความแพร่หลายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G จะทำให้เกิดซอฟต์แวร์สนับสนุนบริการ location based ต่างๆ รวมทัง้ระบบแผนที่ด้วย
(3) การขยายตัวของบริการบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่องและความแพร่หลายของสมาร์ทดีไวซ์ (smart device) เช่น สมาร์ทโฟน (smart phone) และแท็บเล็ต (tablet) จะทำให้เกิดความต้องการ Mobile Application Software เพิ่มมากขึ้น และทำให้ธุรกิจบริการในหลายสาขาแข่งขันกันในการเปิดช่องทางให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมต่างๆ แก่ลูกค้าผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องการพัฒนาช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย (multi-channel sale) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังจะผลักดันให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องพัฒนาความสามารถในการผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้งานได้กับอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ด้วย
(4) ความพยายามในการลดต้นทุนด้านลิขสิทธิซ์ อฟต์แวร์ ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ หันไปใช้ Open Source Software ในการพัฒนาระบบของตนมากยิ่งขึ้น แม้ส่วนใหญ่จะยังไม่ใช้ชื่อ Open Source Software ในการทำการตลาด เพราะเกรงว่าจะทำให้ราคาตกก็ตาม
(5) ตลาดบริการซอฟต์แวร์โดยรวมยังจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าตลาดซอฟต์แวร์เล็กน้อย เพราะประกอบด้วยส่วนบริการที่เติบโตควบคู่ไปกับซอฟต์แวร์ เช่น Software Maintenance Services และบริการส่วนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น Outsourcing และ SaaS ซึ่งเห็นได้จากที่ผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนของบริการซอฟต์แวร์สูงมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าผู้ประกอบการที่เน้นผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์เท่านั้น นอกจากนี้ การพึ่งรายได้จากการบริการยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสรายได้ที่แน่นอนมากขึ้นด้วย
(6) แม้จะมีการกล่าวถึงกันมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า Cloud Computing จะยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยใน 2-3 ปีนี้ โดยในช่วงนี้ผู้ใช้น่าจะอยู่ในขัน้ ตอนของการศึกษา ในขณะที่ผู้ประกอบการบางรายอยู่ในช่วงทดลองตลาด ทัง้นี้คาดว่างานส่วนที่จะสามารถใช้ Cloud Computing ได้ก่อนคือส่วนที่ไม่มีความอ่อนไหวเรื่องความปลอดภัย (Security)

อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ยังคงมีอุปสรรคในการเติบโตที่สำคัญ 2 ประการคือ
(1) การขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำให้ไม่สามารถขยายการผลิตได้ แม้ตลาดยังมีความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง
(2) การจัดจ้างซอฟต์แวร์และบริการของภาครัฐยังคงมีปญั หา โดยเฉพาะในส่วนของการกำหนดขอบเขตของงานใน TOR ที่ไม่มีความชัดเจน ซึ่งทำให้มีปญั หาในการตรวจรับงาน

สำหรับตลาด Embedded System Software ปจั จัยที่มีผลต่อการขยายตัว ประกอบด้วยปจั จัยด้านอุปสงค์และปจั จัยด้านอุปทาน ในส่วนของปัจจัยด้านอุปสงค์ แรงผลักดันให้มีความต้องการใช้ Embedded System Software ส่วนหนึ่งเกิดจากแนวโน้มของความต้องการระบบความคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีความสามารถหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในรถยนต์ราคาแพงจะต้องใช้หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit หรือ ECU) ถึง 100 กว่าหน่วยต่อคัน ซึ่งทำงานเชื่อมต่อกันได้ทำให้เกิดความต้องการซอฟต์แวร์สำหรับระบบดังกล่าวตามไปด้วย

ปัจจัยด้านอุปสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ กฎระเบียบของรัฐในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทั้งกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Regulations) กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Regulations) หรือมาตรฐานการประหยัดพลังงานที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการระบบเซ็นเซอร์ ระบบ Tracking และระบบควบคุมที่อยู่ในรูปของ Embedded System โดยในกรณีของกฎระเบียบของรัฐในต่างประเทศจะทำให้เกิดความต้องการ Embedded System จำนวนมาก แต่บุคลากรในด้านนี้ของต่างประเทศก็ขาดแคลน หรือมีค่าจ้างระดับสูง จึงทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานในประเทศไทย

ในขณะที่ปัจจัยด้านอุปสงค์ทำให้ตลาดมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาวปัจจัยด้านอุปทานคือ การขาดแคลนแรงงานในประเทศที่มีความรู้ความสามารถ ได้กลายมาเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม การขาดแคลนแรงงานทำให้มีการแย่งตัวบุคลากรกันสูงมากและผลักดันให้ต้นทุนการผลิตในประเทศไทยสูงขึ้น แม้จะยังต่ำกว่าต้นทุนในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม

• ตลาดพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware Market)

8gdfWn.jpg
ภาพแสดงกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

• อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ มีดังนี้
- เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
- แผ่นดิสก์ (Diskette / Floppy Disk)
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
- แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี (CD and DVD)
- แฟลชเมมโมรี (Flash Memory)
- ยูเอสบีแฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive)
- สมาร์ทการ์ด (SMART Card)

• อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอก (External Data Storage)
- External Hard Disk
ตลาด External Hard Disk เป็นตลาดที่มีการขยายตัวสูงมากในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2553 มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 47.1 และจากผลการสำรวจปี 2554 พบว่า ตลาด External Hard Disk มีอัตราการเติบโตที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 28.0 หรือคิดเป็นมูลค่า 3,200 ล้านบาท ปัจจัยที่ส่งผลให้การขยายตัวลดลงนั้นมาจากการเกิดอุทกภัยในช่วงปลายปีซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ ทำให้สินค้ามีการปรับราคาสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ อย่างไรก็ตาม ในปี 2555ประมาณการว่า มูลค่าตลาด External Hard Disk จะมีการปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2554 เป็นร้อยละ 31.3 หรือ คิดเป็นมูลค่า 4,200 ล้านบาท อันเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตน้ำ ท่วมปลายปี 2554 ยังคงส่งผลต่อเนื่องถึงต้นปี 2555 ทำให้โรงงานผลิตฮาร์ดดิส์กยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ ทั้งนี้คาดว่ากำลังการผลิตจะสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติประมาณปลายไตรมาสที่สองหรือไตรมาสที่สามของปี 2555 อย่างไรก็ตามแม้ผลกระทบของปัญหาน้ำท่วมจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ในบางโรงงาน แต่ยังคงมีสินค้าในสต๊อกเหลืออยู่ในระดับที่พอจะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นเมื่อประเมินสถานการณ์ของตลาด External Hard Disk ของปี 2555 จึงคาดว่ามูลค่า
ตลาด External Hard Disk จะยังไม่สามารถเติบโตได้มากนัก

9FpR7.jpg
แผนภาพแสดงมูลค่าตลาดและอัตราการเติบโตของตลาด External Hard Disk ปี 2553 - 2554 และประมาณการปี 2555

- Enterprise Storage
จากการสำรวจพบว่าปี 2554 ตลาด Enterprise Storage มีมูลค่า 2,800 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 24.4 โดยอัตราการเติบโตของกลุ่ม Entry Level คิดเป็นร้อยละ 29.4 และกลุ่ม High-End Level6 ร้อยละ 21.4 เป็นผลมาจากปัจจุบันปริมาณข้อมูลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลที่ดีขึ้น รวมทั้งการให้บริการของผู้ประกอบการจะให้บริการโดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงหรือตามความต้องการ ทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงหันมาใช้บริการมากขึ้น ส่งผลให้การลงทุนทางด้าน Enterprise Storage เพิ่มขึ้น
ในปี 2555 ประมาณการว่าตลาด Enterprise Storage จะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2554 เหลือเพียงร้อยละ 16.1 หรือคิดเป็นมูลค่า 3,250 ล้านบาท โดยกลุ่มEntry Level มีการเติบโตร้อยละ 18.2 และกลุ่ม High-End Level ร้อยละ 14.7

10hYdp2.jpg

แผนภาพแสดงอัตราการเติบโตของตลาด Enterprise Storage ปี 2554 และประมาณการปี 2555

สาเหตุที่มีอัตราการเติบโตที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ทำให้องค์กรที่ประสบภัยอาจจะต้องชะลอการลงทุนทางด้าน IT โดยหันไปปรับปรุงและซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็นก่อน ตลอดจนการขาดแคลนอุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบในการผลิต Storage ซึ่งคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะต่อเนื่องมาถึงในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 และภายหลังจากนี้ความต้องการซื้อของตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนปัจจัยที่ทำให้ตลาดเติบโตนั้นมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของข้อมูลอย่างต่อเนื่องหรือข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมถึงมีการลงทุนด้านประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud) ประเภท Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น

11LHys.jpg
12CxBiU.jpg

แผนภาพแสดงมูลค่าตลาดของ External Hard Disk และ Enterprise Storage ในปี 2552 - 2554

References:
http://blog.jelastic.com/2013/06/13/software-stacks-market-share-may-2013/
http://www.nstda.or.th/prs/index.php/all-download/doc_download/22-thailand-ict-market-2010-and-outlook-2011
http://www.nstda.or.th/prs/index.php/all-download/doc_download/31-thailand-hardware-market-2010-presentation

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License