Tesla Model S สามารถใช้แอพสั่งการทำงานผ่าน Google Glass

ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวล้ำสมัยเป็นอย่างมาก ที่ทุกท่านเห็นกันตามภาพยนต์ต่างๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป อย่างเช่นเทคโนโลยีที่สามารถสั่งการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยท่าทาง อย่างการสั่งงานโทรทัศน์หรือการสั่งการทำงานของโทรศัพท์ ที่มี Application ใหม่ๆ มากมายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานเช่นนั้นได้ และมีอุปกรณ์ต่างๆ อีกมากมายที่จะผลิตเพื่อรองรับ Application เหล่านั้นด้วย รวมไปถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google

66b3ce3ccf_google-glass-2.png

Google Glass เป็นแว่นตาที่ผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย และล้ำยุคมาก ซึ่งทุกๆ ท่าน อาจจะได้ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของกูเกิลนี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือบนอินเทอร์เน็ตเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว และทางกูเกิลได้วางแผนจะวางจำหน่ายในปี 2014 ถ้ากล่าวถึงความสามารถของแว่นตาชนิดพิเศษนี้ อาจเรียกได้ว่า “แว่นตาคอมพิวเตอร์” ก็ได้ เนื่องจากว่า Google Glass นี้สามารถทำงานหลายๆ อย่างได้คล้ายกับคอมพิวเตอร์ อาทิ ใช้ระบบปฏิบัติการ Android มีส่วนแสดงผลผ่านจอ Amoled การเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต GPS Bluetooth WiFi 3G และ 4G มีกล้องถ่ายภาพ และมีหน่วยความจำมากพอที่จะเก็บภาพวิดีโอได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone ต่างๆ ผ่าน WiFi หรือ Bluetooth

baby_glass2.jpg

ด้วยความไฮเทคโนโลยีเช่นนี้ ทำให้มีผู้สนใจนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ทั้ง ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตที่สามารถเชื่อมต่อดูแลลูกน้อยผ่านทาง Google Class ได้ หรือแม้ตายามหลงทางก็สามารถช่วยนำเส้นทางให้เราไปถึงจุดหมายปายทางได้ และจากการที่มีกล้องที่สามารถรองรับการถ่ายวิดีโอได้จึงสามารถเก็บภาพความประทับใจต่างๆ เหมือนกับที่ตามองเห็น ดังนั้น จึงมีบริษัทต่างๆ มากมายสนใจที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ของบริษัท

ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2013 Tesla Moter, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่เน้นการออกแบบ การผลิต และการขายรถยนต์ไฟฟ้า (Electric car) ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric vehicle) และอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (Powertrain) ได้นำเทคโนโลยี Google Glass ผสมผสานเข้ากับ Tesla Model S ซึ่งเป็นรถซีด้านสวยหรู ยุคประหยัด ที่มีสถรรนะจากเครื่องยนต์ที่ปราศจากมลพิษ และเต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะช่วยให้ทุกท่านสะดวกสบายในการเดินทางยิ่งขึ้น

993609_679762445373463_47436268_n.jpg

การร่วมมือระหว่าง Google และ Tesla Model S ได้พัฒนา Application ชื่อว่า “GLASSTESLA” ที่สามารถสั่งการรถยนต์ได้โดยใช้ google Glass ในการสั่งการต่างๆ อาทิ ช่วยในการค้นหาตำแหน่งที่จอดรถยนต์ สามารถสั่งเปิด-ปิดประตูรถและซันรูฟจากระยะไกล สามารถล็อก-ปลดล็อกรถได้ หรือแม้แต่สั่งให้ชาร์จแบตเตอร์รี่ผ่านทาง Google Glass ก็สามารถทำได้ นอกจากนี้กูเกิล ยังได้พยายามให้ Google Glass สามารถรองรับคำสั่งเสียงที่เป็นวลีได้ เช่น “OK Glass, open my Tesla,” หรือ “OK Glass, pop open my trunk”

1013473_679763922039982_355618155_n.jpg

ในอนาคตจากความร่วมมือระหว่าง Google และ Tesla Motors น่าจะสามารถพัฒนาเทคโลยีใหม่ๆ ให้กับด้านยานยนต์ได้ในไม่ช้า การร่วมมือครั้งนี้นับเพียงแค่ก้าวแรกของการต่อยอดการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง ตัวอย่างที่อาจจะเห็นได้ชัดที่สุดและคาดการณ์ได้ว่าในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้านี้คงจะได้เห็นกัน นั่นคือ เทคโนโลยีรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง (Autonomous Driving System) ซึ่งทุกท่านก็คงต้องอดใจรอไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ในตอนนี้มาทดลองใช้ Google Glass ร่วมกับ Tesla Model S กันไปก่อนดีกว่านะคะ

SWOT Analysis

จุดแข็ง (Strength)
เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย น่าตื่นเต้น น่าสนใจ สามารถสั่งงานระยะไกลได้ ช่วยให้ผู้ใช้สะดวกสบาย และช่วยคนที่ความจำไม่ดีที่ชอบจำไม่ได้ว่าตนเองจอดรถยนต์ไว้ที่ใด หรือเทคโนโลยีของรถยนต์ที่จำเป็นต้องชาร์จแบตเตอร์รี่ ซึ่งเราสามารถสั่งการให้ชาร์ได้เลยโดยไม่ต้องเดินไปที่รถเพื่อสั่งการ

จุดอ่อน (Weakness)
ใช้ได้กับรุ่นรถยนต์ที่น้อยเกินไป ควรเปิดกว้างกว่านี้

โอกาส (Opportunity)
ในอนาคตคาดดว่าจะสามารถพัฒนาให้รถยนต์ขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้คนขับ

อุปสรรค (Threat)
ค่าใช้ในการพัฒนาและอุปกรณ์ต่างๆ ค่อนข้างสูง

ที่มา:
http://www.ibtimes.com/glasstesla-google-glass-app-controls-tesla-model-s-car-photos-1331565
http://9to5google.com/2013/07/01/new-glasstesla-app-lets-you-control-your-tesla-with-google-glass/
http://www.engadget.com/2013/07/02/unofficial-tesla-app-for-google-glass-lets-model-s-owners-find/
http://www.google.com/glass/start/
http://www.teslamotors.com/models
http://en.wikipedia.org/wiki/Tesla_Motors

จัดทำโดย:
นางสาวสุวิมล ตั้งจิตพรหม
นักศึกษา Y-MBA รุ่นที่ 35 รหัส 5520221023

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License