บอกข้อมูลเกี่ยวกับอาหารด้วยแผ่น QR Code ที่กินได้

บอกข้อมูลเกี่ยวกับอาหารด้วยแผ่น QR Code ที่กินได้
sushi-qr-codes_zpsc37dd617.jpg

ปกติการที่จะรู้ถึงข้อมูลอาหารต่างๆ นั้นก็คงจะต้องอาศัยการบอกข้อมูลของทางผู้ผลิตว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับอาหารอะไรบ้างบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบ, คุณค่าทางอาหารและพลังงานที่ได้รับ แต่สำหรับอาหารตามร้านอาหารคงไม่มีบอกแน่ๆ เลยมีไอเดียของร้านอาหารแห่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนการบอกแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่ทันยุคนี้ด้วยการใช้ QR Code ที่กินได้
ร้านอาหารที่ใช้ไอเดีย QR Code กินได้ก็คือร้าน Harney Sushi ประเทศสหรัฐอเมริกาที่นำเอา QR Code มาเสริฟพร้อมกับข้าวปั้นซูชิของทางร้าน
Robert Ruiz เชฟร้าน Harney Sushi ได้บอกถึงไอเดียนี้ว่า “ในโลกของอาหารและร้านอาหาร เมื่อลูกค้าได้รับรู้ถึงข้อมูลของสิ่งที่ทางร้านให้แล้ว เขาจะพร้อมที่จะจ่ายมากขึ้นและกลับมาทานที่ร้านบ่อยขึ้น และในยุคที่เราอยู่ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีแบบนี้ ทำไมเราไม่ดึงมันมาช่วยในการทำเงินกับร้านที่เราทำอยู่หล่ะ?” จึงกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ Harney คิดขึ้นมาด้วยการเอาข้าวเกรียบ (Rice Wafer) มาพิมพ์ด้วยหมึกที่สามารถกินได้เป็น QR Code เสริฟพร้อมข้าวปั้น โดยเมื่อลูกค้าเอาสมาร์ทโฟนมาแสกน QR Code แล้ว ก็จะนำเข้าสู่หน้าเว็บที่จะแสดงข้อมูลต่างๆ ของอาหารชิ้นนั้น อย่างเช่น ข้าวปั้นหน้าปลา เป็นปลาชื่ออะไร, มาจากแหล่งไหน, มีคุณค่า, ให้พลังงานเท่าไหร่ ฯลฯ

sushi-edible-qr-code-600x799_zpsbceb5be2.jpg

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ที่ทานอาหารสนุกและได้ความรู้มากขึ้น และเป็นเอกลักษณ์ของทางร้านได้ แต่สำหรับไทยแล้วการลงทุนกับการทำเรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากสักนิดและทุนอาจจะไม่คุ้มกับการทำ สิ่งที่อยากเสนอที่สามารถทำได้ไม่ยากมากก็คือการทำป้าย QR Code แบบที่สามารถใช้งานซ้ำได้ ด้วยการเคลือบบัตร หรือใช้การนำเสนอบนจานแทนโดยที่สามารถใช้ซ้ำได้ก็คงไม่เลวเกินไป สิ่งที่ทำก็เพื่อที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันและได้อะไรมากกว่าการมากินและการให้บริการเพียงอย่างเดียว

Date : 27 June 2013
Source : http://thumbsup.in.th/2013/06/sushi-edible-qr-code/

บทวิเคราะห์

การนำ QR Code ที่กินได้ของร้าน Harney Sushi มาใช้ในการบอกข้อมูลทางด้านโภชนาการ ที่สามารถแสดงได้ทั้งคุณค่าทางด้านอาหารและพลังงานที่จะได้รับ ทำให้ลูกค้าได้ตระหนักในการใส่ใจต่อเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากลูกค้าจะสามารถดูข้อมูลของเมนูและราคาผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้แล้วก็ยังมีการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังศูนย์ทะลวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ที่สามารถบอกถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาและการประมง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงการลักลอบประมงแบบผิดวิธี เช่น การประมงในฤดูวางไข่ รวมถึงสารปรอทที่มักปนเปื้อนมากับอาหารทะเล ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่าอาหารในจานได้ผ่านกระบวนการการผลิตที่ถูกวิธีและสุขลักษณะ และเป็นการดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆให้เข้ามาใช้บริการกับทางร้าน พร้อมกับการรักษาลูกค้ารายเดิมให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยมอบความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่ความตระหนักถึงจรรยาบรรณในแต่ละอาชีพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นแก่ผู้บริโภค

จัดทำโดย
วราภรณ์ อินทร์ด้วง ID 5520221035

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License