Location Based Service

Location-Based Services (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ ลักษณะบริการที่พบเห็นบ่อยคือคำถาม “ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน?” “จะไปที่สถานที่ที่ต้องการได้อย่างไร?” “มีอะไรอยู่แถวนี้บ้าง?” ซึ่งเป็นการค้นหาสถานที่ คน สัตว์ หรือ สิ่งของ

การให้บริการสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ Pull services และ Push services สำหรับ Pull services เป็นลักษณะบริการที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการเข้าใช้งานเว็บ โดยแบ่งย่อยได้เป็น functional services เช่น การเรียกแท็กซี่, รถพยาบาล และ information services เช่นการค้นหาธนาคารหรือร้านอาหารห้าดาว ส่วน Push services ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งโดยมีการร้องขอ หรือ ไม่มีการร้องขอก็ตามจากผู้ใช้บริการ โดยปกติบริการจะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้เข้าสู่บริเวณที่กำหนด หรือ ตามเวลาที่ตั้งไว้ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือ บริการโฆษณาสินค้าลดราคา ซึ่งนักช็อปจะสะดวกแค่ไหนถ้าเพียงแค่ผ่านไปใกล้ๆ กับห้างที่กำลังลดราคาอยู่ ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินไปดูป้ายโฆษณา หรือ เดินหาแผ่นพับให้เมื่อยอีกต่อไป ข้อมูลทุกอย่างจะมาอยู่ในมือ โดยผู้ใช้สามารถสั่งซื้อของได้เลยทันทีผ่านมือถือคู่กายเครื่องเดียว อย่างไรก็ตามบริการลักษณะนี้มีในแง่ผลด้วย ถ้ามีการส่งมากเกินความจำเป็น ความสำคัญของข้อมูลก็จะลดลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นข้อมูลที่น่ารำคาญ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องวางแผนก่อนเปิดบริการเป็นอย่างดี

ตัวอย่างที่น่าสนใจของบริการ LBS ในตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการต่อยอดความสามารถของบริการบอกตำแหน่งได้อย่างชาญฉลาด บริการนี้มีชื่อว่า Otetsudai หรือ ผู้ช่วย บริการนี้ช่วยหาคนทำงานชั่วคราวให้ได้ในเวลานิดเดียว โดยจะสร้างฐานข้อมูลความถนัดของแต่ละคนไว้ และติดตั้งซอฟต์แวร์บนตำแหน่งในตัวมือถือ สำหรับนายจ้างที่ต้องการพนักงานชั่วคราวเพียงส่งข้อมูลไปยังระบบ จากนั้นไม่กี่นาทีก็จะได้ข้อมูลกลับมา บอกถึงกลุ่มคนที่สามารถรับงานได้ ค่าจ้างที่เคยได้รับ พร้อมบอกตำแหน่งว่าอยู่ไกลแค่ไหนอย่างแม่นยำ

จากความสามารถของการบอกตำแหน่งที่แม่นยำด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างระ บโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ GPS ไม่เพียงจะนำความสะดวกและรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายสู่ผู้ใช้บริการทั่วไป แล้ว ยังมีส่วนช่วยองค์กรที่ต้องการนำการบอกตำแหน่งมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำ งานในธุรกิจได้อีกด้วย เพียงแต่มีTerminalที่สามารถรองรับการบอกตำแหน่งที่แม่นยำจากระบบดาวเทียม บอกตำแหน่ง Global Positioning System (GPS) โดยทำงานร่วมกับ คอมพิวเตอร์ควบคุม ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Internet พร้อม Internet Browser โดยมีหลักการทำงานคือ การติดต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ควบคุมกับTerminal จะผ่านทาง Application server และ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนการค้นหาตำแหน่งของ Terminal สามารถทำได้จากคอมพิวเตอร์ควบคุม ซึ่งติดตั้งที่สำนักงาน เพื่อประสานงานกับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่นอกสถานที่ซึ่งนับว่ามีส่วนเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กรได้ในระยะเวลาอันสั้น คอมพิวเตอร์ควบคุม สามารถส่งข้อความไปยังTerminalของพนักงานเพื่อสั่งการได้ ส่วนการแสดงแผนที่ โดยทั่วไปมักจะมีความละเอียดที่แตกต่างกันไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถย่อหรือขยายแผนที่ในบริเวณที่ต้องการได้เพื่อดูราย ละเอียด สำหรับการบันทึกการเคลื่อนที่ของเทอร์มินอลที่เคลื่อนที่ไปยังจุด ต่าง ๆ ก็สามารถจัดเก็บไว้ได้ คอมพิวเตอร์สามารถทราบตำแหน่งปัจจุบันของแต่ละ AGPS Terminal ในลักษณะ Real time สำหรับพนักงานสามารถใช้ฟังก์ชั่น Privacy ในการปิดไม่ให้ติดตามตำแหน่งนอกเวลาทำงานได้ การใช้งานการบอกตำแหน่งลักษณะเช่นนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

• ควบคุมการเดินรถ โดยสามารถสั่งการให้เปลี่ยนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรติดขัด
• ธุรกิจที่มีการสั่งสินค้าอย่างเร่งด่วนจากลูกค้า สามารถติดต่อกับพนักงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
• Direct Sale บริษัทสามารถทราบเส้นทางและจำนวนลูกค้าที่พนักงานได้ไปติดต่อ ช่วยให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ธุรกิจ Maintenance ช่วยให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในระยะเวลาอันสั้น
• ธุรกิจรักษาความปลอดภัย สามารถค้นหาตำแหน่งของพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ทันที พร้อมทั้งสั่งการได้ด้วยความรวดเร็ว
• ธุรกิจท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการปรับเปลี่ยนกำหนดการ พร้อมทั้งบอกเส้นทางที่ถูกต้องจากส่วนกลางได้
• รถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญที่อำนวยความสะดวกในการเดินทาง คือ หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรติดขัด
• ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ในญี่ปุ่น ได้นำเอาความสามารถในการบอกตำแหน่งมาให้บริการ Car navigation มาช่วยบอกทิศทางโดยแสดงผลบนจอถึงการเคลื่อนที่ของรถยนต์ ร่วมกับ ระบบเสียงนำทาง

LBS ประกอบด้วยอะไรบ้าง
LBS ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก5ส่วนใหญ่ๆ มีดังนี้
• Mobile Devices คือส่วนของอุปกรณ์เคลื่อนที่ๆผู้ใช้นำไปใช้งานเพื่อใช้ในการร้องขอตอบรับ หรือ แสดงผลข้อมูล ในรูปแบบของเสียง ภาพ ข้อความ ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น มือถือ พีดีเอ โน้ตบุ๊ก หรือแม้แต่อุปกรณ์แสดงแผนที่ในรถยนต์
• Communication network คือ โครงข่ายไร้สายที่ไว้สำหรับรับส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคำสั่งขอใช้บริการ Mobile Deviceส่งไปยังส่วนService Provider และ ส่งผลลัพธ์กลับไปยัง Mobile Device
• Positioning component คือ การให้บริการจะต้องทราบตำแหน่งของผู้ใช้โดยโครงข่ายมือถือ อาจจะใช้อุปกรณ์ Global Positioning System (GPS) หรือ แม้แต่การติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ ไว้เพื่อติดต่อสื่อสารบอกตำแหน่งที่มักถูกใช้ภายในอาคาร
• Service and Application Provider เป็นผู้นำเสนอบริการต่างๆ ให้กับผู้ใช้รวมถึงการตอบสนองการเรียกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณหาตำแหน่ง ค้นหาเส้นทาง โดยทั่วไปในส่วนนี้จะไม่มีการเก็บฐานข้อมูลไว้ แต่จะมีการเรียกข้อมูลมาจากส่วน Data and Content Provider แทน แต่ก็อาจจะมีService หรือ Application Providerบางที่ๆมีฐานข้อมูลเป็นของ
• Data and Content Provider คือ ผู้ให้ข้อมูลคอนเทนต์ต่างๆ เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ บางครั้งอาจจะไม่เก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ แต่จะมีการเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญต่างๆ เช่นผู้ให้บริการแผนที่

LBS นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
สามารถนำ LBS ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ และได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆอยู่เสมอ ตัวอย่างของบริการต่างๆที่สามารถนำLBSไปใช้ได้
Emergency Service ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่นการกู้ภัยอุบัติเหตุซึ่งจะเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้เร็วขึ้น ถ้าหากมีการนำเครื่องมือที่สามารถส่งสัญญาณได้ว่าอุบัติเหตุเกิด ณ แห่งใด
Navigation Service คือการให้บริการนำทาง ซึ่งผู้ใช้จะกำหนดจุดปลายทางและให้อุปกรณ์ไร้สายที่ให้บริการLBSบอกทิศทางในการเดินทางได้
Information Service คือการให้บริการข้อมูลต่างๆในบริเวณที่ผู้ใช้ หรืออุปกรณ์นั้นๆอยู่ เช่นข้อมูลการจราจร, ข้อมูลแหล่ที่พัก หรือข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นๆ
Tracking and Management Service เป็นการบริการเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามทรัพย์สิน หรือสิ่งที่อยู่ในความสนใจ เช่นระบบขนส่งอาจจะมีความต้องการติดตามรถบรรทุกแต่ละคันว่าอยู่ตำแหน่งใดเป็นต้น

กรณีศึกษาการใช้ LBS

1. บริษัท Tesco Lotus

200150.jpg

ระบบการติดตามตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บรรจุสินค้าในการขนส่งสินค้า เป็นการพัฒนารูปแบบการขนส่งโดยติดตั้งเทคโนโลยีการทำงานของ RFID และ GPS ไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ โดยการทำงานของ RFID เริ่มจากเครื่องอ่านข้อมูล (Reader) จะทำหน้าที่จ่ายพลังงานในรูปแบบของคลื่นความถี่วิทยุไปยังตัวป้าย (Tag) เพื่อทำการรับส่งข้อมูลผ่านวงจรอิเล็คโทรนิค ภายในมายังตัวประมวลผลข้อมูลเพื่อระบุถึงข้อมูลจำเพาะเหล่านั้นทำให้การตรวจนับสินค้าเป็นไปอย่างสะดวก แม่นยำ และรวดเร็ว ส่วนระบบการทำงานของ GPS เริ่มจากผู้ใช้งานต้องการทราบพิกัดตำแหน่งตู้คอนเทนเนอร์ จะส่ง SMS จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายจะทำการตรวจสอบพิกัดตำแหน่งโดยส่ง SMS ไปยังอุปกรณ์ติดตาม GPS ซึ่งเสาอากาศ GPS ที่ติดตั้งไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์จะส่งข้อมูลพิกัดกลับด้วยระบบ GPRS หรือ CDMA ไปยังผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อส่ง SMS แจ้งพิกัดตำแหน่งให้ผู้ใช้บริการทราบ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ได้ ป้องกันการสูญหายและถูกโจรกรรม

เทสโก้ โลตัส ได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายรุ่นใหม่ที่สำนักงานใหญ่ ใช้ในงานทางด้านการจัดซื้อสินค้าและบัญชี ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ “นอติลุส” ซึงจะติดตั้งไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า ระบบจะเริ่มปฎิบัติการเมื่อฝ่ายจัดซื้อได้รับคำสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบแม่ข่าย ข้อมูลคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังคู่ค้าพร้อมๆ กับศูนย์กระจายสินค้า เมื่อคำสั่งซื้อมาถึงศูนย์กระจายสินค้าและสินค้าที่สั่งได้จัดส่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้า สินค้าจะถูกบันทึกลงในรายการของคลังสินค้า และระบบซอฟแวร์ “นอติลุส” จะสร้างระบบบาร์โค้ดและฉลากสินค้าขึ้น

ขณะที่สินค้าถูกบันทึกรายการ ระบบ ก็จะสามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกับสินค้านั้นๆ ระบบแม่ข่ายและระบบซอฟต์แวร์นอติลุส จะให้ประโยชน์แก่คู่ค้าในด้านการลดจำนวนเอกสารที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อ ความถูกต้องของข้อมูลรายการและจำนวนสินค้าที่ถูกจัดส่ง ทำให้ฝ่ายจัดซื้อสามารถประมาณการจำนวนสินค้าที่ต้องการจากคู่ค้าได้ จำนวนยอดขายสินค้าของคู่ค้าก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากการ ส่งสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้า จึงทำให้ต้องมีการสต็อกสินค้าไว้สำหรับโลตัสทุกสาขา ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนการสั่งซื้อให้กับคู่ค้า และจะมีสินค้าอยู่บนชั้นวางสินค้าโลตัสทุกสาขาอยู่ตลอดเวลา

ส่วนรถยกสินค้าภายในศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ สามารถระบุเวลาที่สินค้านั้นๆ ถูกจัดเก็บไว้ในศูนย์ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าจำนวน 500-700 คัน จะขนส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้าทุกวัน และในแต่ละวันมีสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวน 300,000-500,000 หีบ ขนส่งมายังศูนย์กระจายสินค้า ในแต่ละวันรถคอนเทนเนอร์สูง 40 ฟุต จำนวน 80-100 คัน จะบรรทุกสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังเทสโก้ โลตัสทั่วประเทศ โดยระบบขนส่ง สินค้าขากลับหรือ Backhauling เกิดขึ้นได้เนื่องจากเทสโก้ โลตัส สามารถให้บริการบรรทุกสินค้าจากผู้ผลิตหรือคู่ค้าชาวไทย ซึ่งมีโรงงานอยู่ในเส้นทางเดินรถอยู่แล้ว และกลับมายังศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งช่วยประหยัดเวลา และค่าขนส่งทั้งในส่วนของคู่ค้าและ ร้านค้าปลีก

2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
นำ LBS มาประยุกต์ใช้เพื่อการติดตามผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยใช้ Tag ที่ทำงานร่วมกันระหว่าง RFID หรือ และ Wi-Fi ช่วยให้สามารถติดตามสิ่งของหรือว่าบุคคลได้ตามเวลาของปัจจุบันได้บนเครือข่ายไร้สาย โดยชิปของ RFID ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จะถูกติดตั้งไว้บนทรัพย์สินที่ต้องการจะติดตาม จะสื่อสารกับจุด Access Point ไร้สายอย่างน้อย 3 จุดในพื้นที่ของเครือข่าย ซึ่งแผ่นป้ายที่ติดตั้งชิป RFID นี้จะมีซอฟต์แวร์อยู่ภายใน ช่วยให้สามารถตรวจสอบความแรงของสัญญาณจากจุด Access Point ได้ แล้วข้อมูลการเดินทางของชิปที่ปรากฏได้จากการตรวจสอบจุด Access Point ที่ชิปเดินทางผ่านจะถูกส่งกลับไปยัง เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะนำมาทำการจำลองการเคลื่อนที่ของ Tag โดยขึ้นอยู่กับว่า Tag นั้นได้เคลื่อนย้ายไปที่ใดด้วยการตรวจพบความแรงของสัญญาณ ซึ่งระบบดังกล่าวอาศัยเพียง เครือข่ายไร้สาย Wi-Fi แผนที่ และตัววัด เพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งของวัตถุหรือบุคคลอย่างได้ผล ในระบบจำเป็นต้องมีจุด Access Point ไร้สายทุกๆ 30 เมตร จึงจะช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้

3. BMW
บริษัทผลิตรถยนต์ BMW ได้ศึกษาและวิจัยงานเป็นการคิดค้นอุปกรณ์เกี่ยวกับยานยนต์คือกุญแจรถยนต์ที่ ป้องกันไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์หรือการกดพิมพ์ส่งข้อความ (SMS) ขณะขับรถ โดยมีจุดประสงค์ในการคิดค้นและพัฒนากุญแจลักษณะนี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการลด ปริมาณจำนวนคนที่เสียชีวิตบนท้องถนนที่มีสาเหตุจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะ ขับรถ โดยกุญแจ Key2SafeDriving จะทำงานโดยการจากการเชื่อมต่อสัญญาณของบลูทูธของกุญแจรถที่มีอุปกรณ์เล็กๆ ที่สามารถรับส่งสัญญาณกับโทรศัพท์มือถือได้ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีการติดตั้งตัว รับส่งสัญญาณที่กุญแจและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของระบบนี้ในโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ตัวรับส่งสัญญาณที่ติดอยู่ในกุญแจจะสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับ โทรศัพท์มือถือของคนขับผ่านทางเทคโนโลยีบลูทูธ หรือทางคลื่นความถี่วิทยุ RFID และเมื่อใดก็ตามที่จะมีการติดเครื่องยนต์โดยการใช้กุญแจ คนขับรถยนต์จะต้องมีการกดปุ่มปุ่มหนึ่งที่กุญแจ เพื่อทำการส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือของคนขับเพื่อเริ่มการทำงานของระบบ และเมื่อเครื่องยนต์ติด โทรศัพท์มือถือจะเปลี่ยนระบบการทำงานไปอยู่ในแบบกำลังขับรถ หรือ Driving Mode และจะมีสัญญาณสีแดงพร้อมกับตัวหนังสือเขียนว่า STOP หรือหยุดแสดงขึ้นมาตรงกลางหน้าจอ และถ้ามีสายโทรเข้าหรือมีข้อความส่งเข้าที่เครื่องขณะขับรถ โทรศัพท์มือถือก็จะตอบกลับไปโดยอัตโนมัติโดยส่งข้อความกลับไปว่า ฉันกำลังขับรถอยู่ และจะโทรกลับหาคุณเมื่อฉันขับรถไปถึงที่หมายโดยปลอดภัย

4. โอลิมปิค ปี 2008
ประเทศจีนได้วางแผนใช้ตั๋ว RFID ในการจัดงานโอลิมปิก ส่งผลประโยชน์ต่อจีนในเรื่องการนับตั๋วหรือตรวจสอบตั๋ว ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจสอบว่าจะสูญเสียรายได้หลักหรือไม่ เนื่องจากตั๋วที่ต้องจำหน่าย จ่ายแจก ในงานโอลิมปิกนี้มีจำนวนมาก และที่สำคัญการปลอมแปลงตั๋วเป้นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่านมากในประเทศจีน ส่งผลให้คณะกรรมการโอลิมปิกของจีนจึงต้องเข้มงวด เพราะเวลาขายตั๋วออกไปจะมีตัวแทนจำหน่ายซึ่งแต่ละรายนั้นต้องรับผิดชอบปริมาณตั๋วจำนวนไม่น้อย

5. Dunkin’ Donuts
Dunkin’ Donuts ให้ TomTom Navifation ผู้ผลิตโปรแกรมนำทางด้วย GPS รายใหญ่รายหหนึ่งของสหรัฐอเมริกา นำโลโก้รูปโดนัทใส่ลงในแผนที่แทนไอคอนรูปส้อมและมีด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทั่วไปของร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม หรือภัตตาคาร การเริ่มต้นของ Dunkin’ Donuts เป็นการเริ่มต้นที่ดี และได้รับผลตอบรับเกินคาด ลูกค้าหาร้านได้ง่ายขึ้นและยอดขายก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน Cold Stone Creamery ก็ส่งข้อความให้แก่ผู้ใช้ GPS เมื่อขับรถมาใกล้ๆ กับทำเลที่ตั้งของร้าน รวมถึงแจ้งรายละเอียดของโปรโมชั่นต่างๆด้วย

ที่มา : http://vcharkarn.com/varticle/40674

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License