The Global Information Technology Report 2013

Growth and Jobs in a Hyperconnected World

Beñat Bilbao-Osorio, World Economic Forum
Soumitra Dutta, Cornell University
Bruno Lanvin, INSEAD
Editors

2013 Networked Readiness

ดัชนีความพร้อมในด้าน network (Networked Readiness Index, NRI) จะมีความสัมพันธ์จากด้านต่างๆดังนี้

1. บทบาทของ digital ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน
2. ภาษีของระบบโครงข่ายและแผนการของ ICT
3. การให้ความสัมพันธ์ของผู้นำ
4. บทบาทของ fiber broadband ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม
5. ผลกระทบของ mobile technology ยุคใหม่ต่อเศรษฐกิจ
6. ความต้องการเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ
7. บทบาทของ ICT ในยุโรปเพื่อจะทวงความได้เปรียบในการแข่ขังกลับมา
8. ศักยภาพของ ICT ที่ช่วยสนับสนุนสังคม

ตัวขับเคลื่อนและผลกระทบต่อดัชนีความพร้อมของเครือข่ายแสดงได้ตามภาพด้านล่างนี้

flickr:9084957999

ส่วนโครงสร้างของ NRI ประกอบด้วยหมวดต่างๆดังนี้

flickr:9087177756

ตารางเปรียบเทียบความสามารถด้าน IT ของประเทศต่างๆ

Country/Economy Score 2013 Rank 2012 Rank
Singapore 5.96 2 2
Korea, Rep. 5.46 11 12
Japan 5.24 21 18
Malaysia 4.82 30 29
Brunei 4.11 57 54
China 4.03 58 51
India 3.88 68 69
Thailand 3.86 74 77
Indonesia 3.84 76 80
Vietnam 3.74 84 83
Philippines 3.73 86 86
Cambodia 3.34 106 108

IT Review

Country/Economy 2013 Review
Singapore อันดับ 2 รองจากฟินแลนด์ ด้วยประสิทธิภาพที่สุดยอด ความเป็นมิตรกับธุรกิจจากโครงสร้างที่ดี การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันสูง และอัตราการลงทะเบียนในมหาวิทยาลัยที่สูง ช่วยให้สิงคโปร์มีความพร้อมในด้าน network สูงมากสิงคโปร์เป็นผู้นำด้าน IT ในกลุ่ม ASEAN ในขณะที่อีก 8 ประเทศ มี NRI ที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน แม้ว่ากัมพูชากับฟิลิปปินส์จะได้ ranking ลดลง
Korea, Rep. เลื่อนขึ้นมาเข้าใกล้ top10 ของโลก โดยได้สิ่งแวดล้อมอันดับ 32 และความพร้อมในอันดับ 23 ในขณะที่มีการใช้งานอันดับ 4 และผลกระทบอันดับ 5
Japan แม้ว่าญี่ปุ่นมีมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านนวัตกรรมสูงสุดในโลก แต่กลับมี NRI ลดลงมา 3 อันดับจากการจัด rank รอบก่อน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจที่ดีจากนวัตกรรมและธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงสุด แต่ผลจากการใช้เทคโนโลยีกลับไม่ค่อยกระทบต่อสังคมมากนัก (อันดับ 31) การนำมาใช้และการส่งเสริมจากภาครัฐจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการเติบโตของ network readiness ให้สูงขึ้น
Malaysia แม้ว่าจะตกลงมาหนึ่งอันดับ แต่ก็ยังสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จากการพยายามเลียนแบบความสำเร็จของเกาหลีใต้และประเทศอื่นในเอเชียที่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลได้มีการวางแผนระยะยาวโดยใช้ ICT เพื่อที่จะให้มีรายได้สูงภายในสิ้นทศวรรษนี้ มาเลเซียได้อันดับ 7 ในด้านการใช้ของรัฐบาล ในด้านธุรกิจก็มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมาก จากการนำของรัฐบาลช่วยให้ผลของเศรษฐกิจอยู่ในอันดับ 29 และด้านสังคมได้อันดับ 25 แต่ในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังคงต่ำอยู่ที่อันดับ 73 และการใช้งานส่วนบุคคลอยู่ที่อันดับ 46 เนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล่าสุด
Brunei -
China ในการพัฒนา ICT จีนพบความท้าทายในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น institution framework, สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การขาดนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ภาษีแพง และปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันนี้ 80% ของ software ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งยังขาดสาธารณูปโภคและdigital content pillar เนื่องจากระบบโครงสร้างอินเตอร์เน็ตยังด้อยอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งนอกเมือง จีนมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตปกติมากกว่า 40% มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 12 รายต่อประชากร 100 คน การใช้ ICT ในธุรกิจอยู่ในขั้นสูง (อันดับ 35) ประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงที่มีการพัฒนานวตกรรมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว รัฐบาลส่งเสริม ICT อย่างมากและหวังว่า ICT จะช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างก้าวกระโดด
India ภายใต้ความไม่แน่นอนทางการเมือง กฎหมาย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ รวมทั้งขาดโครงสร้างพื้นฐานของ digital และภาษีนิติบุคคลซึ่งคิดเป็น 62% ของกำไรเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก แต่ในแง่ดี อินเดียมีเทคโนโลยีใหม่ๆ การลงทุน การแข่งขันภายในประเทศ และคุณภาพของมหาวิทยาลัยด้านธุรกิจ ช่วยส่งเสริมให้อินเดียมีความพร้อม แต่การนำ ICT มาประยุกต์ใช้ ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ การใช้งานส่วนบุคคลก็ต่ำ มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแค่รายเดียวต่อประชากรร้อยคน ผู้ให้บริการ mobile broadband เพิ่มเป็น 2 รายต่อประชากรร้อยคน ในทางกลับกันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นอันดับ 40 ของโลก รัฐบาลพยายามเน้นในด้าน ICT ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงาน คอรัปชั่น กฎระเบียบ และการศึกษา
Thailand ตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซียอยู่มาก ไทยมีข้อด้อยอยู่ในทุกด้านโดยหลักๆอยู่ที่ความสามารถในการซื้อ ICT รองลงมาก็จะเป็นด้านโทรศัพท์มือถือ คุณภาพเชิงธุรกิจและสภาพแวดล้อมด้านนวัตกรรม นอกจากนี้ยังขาดแคลนเทคโนโลยีด้านอื่นๆอีกรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริม ICT อย่างจริงจัง Digital agenda nationwide อยู่ในอันดับ 86
Indonesia อินโดนีเซียมีความสามารถในการซื้อ ICT สูงสุดใน ASEAN (อันดับ 39 ของโลก) ในด้านการใช้เชิงธุรกิจได้อันดับ 40 บริษัทต่างๆรับเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีการเพิ่มนวัตกรรม โทรศัพท์มือถือมีใช้กันอย่างแพร่หลายและมีอัตราการเติมโตที่สูง mobile broadband ขยายตัวกว่า 10 เท่าจากปี 2010 มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 22 รายต่อประชากรร้อยคน มีการใช้ social media มาก รัฐบาลก็ใช้ ICT มากขึ้นด้วย
Vietnam เวียดนามมีความสามารถในการซื้อ IT เป็นอันดับต้นในกลุ่ม ASEAN แต่องค์ประกอบอื่นๆที่ใช้ในการวัด NRI อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เนื่องจากความกังวลด้านเสถียรภาพการเมือง กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งเวียดนามจัดอยู่อันดับ 97 ในด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่การพัฒนา ICT แต่ยังขาดความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย
Philippines แม้ว่าจะได้แต้มในด้านต่างๆเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ว่าด้านสภาพแวดล้อมยังคงต่ำกว่าอันดับ 100 ฟิลิปปินส์จัดอยู่ในกลุ่มท้ายๆในหลาย indicator แต่ว่าในด้านผลกระทบของ ICT กลับมีอันดับ 68 (ดีขึ้น 16 อันดับ) บทบาทของ ICT ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ อยู่อันดับ 43 และโมเดลองค์กรอยู่อันดับ33
Cambodia ดีขึ้น 2 อันดับ แต่ถูกจัดอยู่ในอันดับเกิน 100 ใน 6 จาก 10 หมวดของ NRI ท่ามกลางความมืดมน กัมพูชาก็ยังมีความคืบหน้า 2 ใน 3 ของดัชนีชี้วัด

Broadband Target and Policies

Country/Economy เป้าหมายของประเทศต่อ broadband กับแผน ICT นโยบาย broadband แห่งชาติ
Singapore เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรม ICT เป็นสองเท่า เป็น $26,000 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มมูลค่าการส่งออก ICT สามเท่า เป็น $60,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานเพิ่ม 80,000 อัตรา กลยุทธ์ Intelligent Nation 2015
Korea, Rep. - แผนจะรวมเครือข่าย ultra broadband เมื่อปี 2010
Japan เพิ่มมูลค่าตลาดเป็น 70 ล้านล้านเยนในปี 2020 มีแผนbroadband ใหม่ซุปเปอร์ไฮเวย์ (Haraguchi vision II) เมื่อปี 2010
Malaysia - มีแผน Broadband แห่งชาติเมื่อปี 2010
Brunei - ออกแผน National Broadband Blueprint เมื่อปี 2008
China - มีแผนที่จะรวม 3 เครือข่ายภายใต้การลงทุนของรัฐเมื่อปี 2010
India ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำกับดูแล e-governance หลักๆ เช่นสุขภาพ, การศึกษา,การพัฒนาทักษะการจ้างงาน,การกำกับดูแลการธนาคารและอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นมีความเป็นธรรมและมีการเติบโต มีแผนเครือข่าย fiber optic แห่งชาติเมื่อปี 2011
Thailand พัฒนาเครือข่าย broadband ให้ครอบคลุมประชากร 80% ภายในปี 2015 และ 95% ภายในปี 2020 มีนโยบาย broadband แห่งชาติเมื่อปี 2010
Indonesia - ให้ความสำคัญกับกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศและเทคโนโลยีปี 2010-2014
Vietnam - เมื่อปี 2010 มีแผนแม่บท 2010-2015 และนายกรัฐมนตรีออกพระราชกฤษฎีกา 1755 / Q T-TG เพื่อให้เป็นประเทศไอซีทีที่ทันสมัย
Philippines ตั้งเป้าจะเพิ่มคะแนน UN e-Participation Index จาก 24.49 ในปี 2008 ให้มากกว่า 40 และอย่างน้อย 50% บน website ของภาครัฐจะมีการบริการที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ รวมทั้งอีกอย่างน้อย 20% ที่ให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้ มีกลยุทธ์ Digital transformation 2.0 เมื่อปี 2011 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ
Cambodia - -

อัตราภาษีศุลกากรโทรศัพท์มือถือ

Country/Economy Rank Value ($)
Singapore 37 0.17
Korea, Rep. 82 0.33
Japan 136 0.84
Malaysia 43 0.19
Brunei 110 0.45
China 9 0.06
India 6 0.04
Thailand 16 0.09
Indonesia 39 0.17
Vietnam 53 0.21
Philippines 73 0.29
Cambodia 51 0.2

Source
The Global Information Technology Report 2013
http://www.flickr.com/photos/97725219@N03/9084957999/
http://www.flickr.com/photos/97725219@N03/9087177756/

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License